คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๗๑๖/๒๕๕๔
ป.อ. มาตรา ๓๕๒
การที่ อ. ผู้เสียหายตกลงให้จำเลยเอารถกระบะที่ผู้เสียหายทำสัญญาเช่าซื้อมาไปใช้โดยจำเลยเป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ โดยมีข้อตกลงกันระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยว่า จำเลยจะเป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหาย หลังจากจำเลยได้รับมอบการครอบครองรถกระบะจากผู้เสียหายแล้ว ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยพารถกระบะหลบหนีไปขายแก่บุคคลภายนอก หรือแอบอ้างว่าเป็นรถกระบะของตนเอง ด้วยการปฏิเสธว่าไม่ได้รับมอบรถกระบะจากผู้เสียหายแต่อย่างใด แต่จำเลยครอบครองใช้รถกระบะนั้นโดยเปิดเผยและได้ชำระค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหายเรื่อยมาจำนวนถึง ๕ งวดติดต่อกัน
ต่อมาจำเลยค้างส่งค่างวดจึงได้มอบรถกระบะให้ ช. โดยทำความตกลงกับ ช. ให้ ช. เป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อที่เหลือต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยรวมทั้งที่จำเลยรับเงินมัดจำจาก ช. ในวันทำสัญญาเป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท และในสัญญาระบุว่าจำเลยและ ช. ซื้อขายรถยนต์ (รถกระบะ) นั้น ยังมิใช่การเอารถกระบะทรัพย์สินของผู้ให้เช่าซื้อไปขายแต่เป็นเพียงการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ ช. โดยมีข้อตกลงให้ ช. มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อต่อไป เพราะจำเลยประสงค์จะหาบุคคลอื่นมาช่วยรับภาระในการผ่อนค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหาย จำเลยจึงมิได้เบียดบังเอารถกระบะดังกล่าวเป็นของตนเองหรือผู้อื่นโดยทุจริต ไม่เป็นเหตุทำให้การกระทำของจำเลยที่ไม่เป็นความผิดกลับกลายเป็นความผิดไปแต่อย่างใด
การที่จำเลยโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ ช. แม้จะมิได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าซื้อก็มีผลในทางแพ่งเพียงว่า ผู้ให้เช่าซื้อยังคงมีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างจากผู้เสียหายผู้เช่าซื้อเดิมได้ต่อไป รวมทั้งเรียกค่าเสียหายในการที่ผู้ให้เช่าซื้อไม่อาจติดตามยึดรถกระบะคืนจากจำเลยได้ จำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานยักยอก
คําชี้ขาดความเห็นแย้งความผิดฐานยักยอก
(ชี้ขาดความเห็นแย้งที่ ๕๑๘/๒๕๕๔)
ป.อ. ยักยอก (มาตรา ๓๕๒)
ผู้ต้องหาอาศัยการที่เคยรู้จักทําธุรกิจค้าขายรถยนต์ ผู้เสียหายเชื่อใจ และยอมให้ผู้ต้องหานํารถยนต์กระบะยี่ห้อนิสสันรุ่นฟอนเทียไปขายตามที่ผู้ต้องหาอ้าง ผู้ต้องหาแจ้งว่า ถ้าขายรถยนต์ได้แล้วจะโอนเงินให้ผู้เสียหาย แต่ผู้ต้องหาก็มิได้โอนเงินให้แต่อย่างใด
ต่อมาไม่นาน ผู้ต้องหาได้นํารถยนต์กระบะยี่ห้ออีซูซุ รุ่นไฮแลนเดอร์ มาเสนอขายให้กับผู้เสียหาย ผู้เสียหายตกลงซื้อ ผู้ต้องหาก็ขอรับรถยนต์คันดังกล่าวไปอีก โดยอ้างว่าเพื่อนําไปขายต่อเอากำไรและจะนำเงินที่ขายได้ให้ผู้เสียหาย แต่ผู้ต้องหาก็มิได้โอนเงินค่าขายรถให้แก่ผู้เสียหายแล้วหลบหนีไป ประกอบกับผู้ต้องหาเคยมีประวัติต้องโทษในคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์และเช็คหลายคดี จึงน่าเชื่อว่าผู้ต้องหามีเจตนาทุจริตหลอกลวงผู้เสียหายมาตั้งแต่ต้นในการนํารถยนต์ทั้งสองคันดังกล่าวไป และโดยการหลอกลวงดังนั้นได้ไปซึ่งรถยนต์ทั้งสองคันดังกล่าวจากผู้เสียหาย
การกระทําของผู้ต้องหาจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 เป็นการกระทําความผิดสองกรรมต่างกัน แต่ไม่เป็นลักทรัพย์หรือยักยอก
อัยการสูงสุดชี้ขาดไม่ฟ้องนาย ฐ. ในความผิดฐานยักยอก สั่งฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๓๗๐๔/๒๕๕๓
ป.อ.ยักยอก (มาตรา ๓๕๒)
จำเลยตกลงซื้อรถยนต์กระบะของบริษัทผู้เสียหายจากผู้เช่าซื้อโดยผ่านนาย ก. และจำเลยได้จ่ายเงินส่วนหนึ่งให้แก่ นาย ก. และรับรถยนต์ไป โดยนัดจะไปเปลี่ยนตัวผู้เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อที่บริษัทผู้เสียหายในวันรุ่งขึ้น แต่จำเลยกลับไม่ไปทำสัญญาเช่าซื้อตามนัด และไม่นำรถยนต์มาคืน ทั้งยังหลบหนีไป จนกระทั่ง ถูกเจ้าพนักงานตำรวจออกหมายจับ
พฤติการณ์ย่อมฟังได้ว่า จำเลยมีเจตนาเบียดบังเอารถยนต์กระบะคันดังกล่าวไปเป็นของตนหรือของบุคคลที่สามโดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดฐานยักยอก ไม่ใช่เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๙๖๐/๒๕๕๑
ป.อ. มาตรา ๓๔๑
ป.วิ.อ. มาตรา ๒ (๔)
ผู้เสียหายเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันซึ่งเช่าซื้อมาจากบริษัท ต่อมาผู้เสียหายขายดาวน์รถยนต์คันดังกล่าวให้แก่จำเลยเป็นผู้เช่าซื้อแทน จำเลยทำสัญญาซื้อกับผู้เสียหายโดยหลอกลวงใช้ชื่อและที่อยู่ผิดไปจากความจริง และผู้เสียหายขอดูบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านจากจำเลย แต่จำเลยไม่แสดงให้ผู้เสียหายดู จึงเป็นการหลอกลวงผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ
อีกทั้ง หลังจากทำสัญญาแล้วจำเลยก็ไม่มาทำสัญญาเปลี่ยนตัวผู้เช่าซื้อตามที่ตกลงกันไว้ พฤติการณ์ของจำเลยแสดงให้เห็นว่า จำเลยมีเจตนาทุจริตมาตั้งแต่แรกในการหลอกลวงผู้เสียหายเพื่อประสงค์จะไม่ให้ผู้เสียหายติดตามทวงรถยนต์คืนได้ โดยการหลอกลวงดังกล่าวทำให้จำเลยได้ไปซึ่งรถยนต์เสียหาย การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นการร่วมกันฉ้อโกงผู้เสียหาย
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อจะมีข้อสัญญาห้ามมิให้ผู้เช่าซื้อนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปจำหน่ายให้แก่บุคคลอื่น ซึ่งการกระทำของผู้เสียหายอาจจะเป็นความฐานยักยอกด้วยหรือไม่นั้น ก็เป็นเรื่องระหว่างผู้ให้เช่าซื้อกับผู้เสียหายซึ่งจะต้องไปว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่ง ทั้งข้อเท็จจริงยังได้ความจากคำเบิกความของผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายแจ้งให้บริษัทผู้ให้เช่าซื้อทราบแล้วว่าจะทำสัญญาเปลี่ยนตัวผู้เช่าซื้อเป็นจำเลย เมื่อจำเลยกับพวกร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายให้ขายดาวน์รถยนต์แก่จำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายโดยตรงโดยผู้เสียหายไม่ได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงด้วย
อีกทั้ง ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายเป็นผู้ครอบครองและใช้ประโยชน์จากรถยนต์คันดังกล่าวในฐานะผู้เช่าซื้อ จึงเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒ (๔) ผู้เสียหายจึงมีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้
รถยนต์ที่จำเลยฉ้อโกงไปจากผู้เสียหาย ไม่ใช่รถยนต์ของผู้เสียหาย แต่เป็นรถยนต์ของบริษัทเจ้าของรถ ซึ่งผู้เสียหายเป็นผู้ครอบครองในฐานะผู้เช่าซื้อเท่านั้น ประกอบกับผู้เสียหายชำระค่าเช่าซื้อให้แก่บริษัทดังกล่าวบางส่วน แล้วผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตลอดมา ดังนั้น เพื่อให้การคืนรถยนต์หรือใช้ราคาเป็นไปโดยถูกต้อง จึงให้จำเลยคืนรถยนต์หรือใช้ราคาแก่เจ้าของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๗๒๗/๒๕๔๔
ป.อ. มาตรา ๓๕๒
จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกจากบริษัท อ. โดยชำระเงินในวันทำสัญญาบางส่วน ที่เหลือผ่อนชำระเดือนละงวดรวม ๓๖ งวดมีชาวบ้านที่จำเลยจ้างมาเป็นผู้ค้ำประกัน หลังจากทำสัญญาเช่าซื้อและรับรถไปแล้วจำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดแรกและไม่ติดต่อกับผู้เสียหายอีกเลย บริษัท อ. จึงบอกเลิกสัญญา แต่จำเลยไม่ส่งมอบรถคืน เมื่อสอบถามจำเลย จำเลยแจ้งว่าขายไปแล้วแต่ไม่ยอมบอกว่าขายให้แก่ผู้ใด ไม่ปรากฏว่านายเหน่งที่ว่ามีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ เป็นคนที่ไหนเกี่ยวข้องใกล้ชิดอย่างไร และเพราะเหตุใดจำเลยจึงส่งมอบรถยนต์ซึ่งมีราคาสูงให้ไปโดยไม่ต้องมีหลักฐาน หากเป็นความจริงตามวิสัยผู้สุจริต จำเลยต้องรีบแจ้งผู้เสียหาย แจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานให้ติดตามผู้กระทำผิด และตามรถยนต์คืน แต่จำเลยไม่ได้ทำ ข้ออ้างว่าจำเลยได้แจ้งผู้เสียหายกับแจ้งความร้องทุกข์แล้วแต่เจ้าพนักงานไม่ยอมรับแจ้งนั้นไม่น่าเชื่อ
ดังนี้ การที่จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อและชำระเงินล่วงหน้าก็เพื่อให้ได้รถยนต์ไปไว้ในครอบครอง มิได้มีเจตนาจะชำระราคาอีก พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นการเบียดบังเอาทรัพย์ของบริษัท อ. ที่อยู่ในครอบครองของจำเลยไปโดยทุจริตเป็นความผิดฐานยักยอก หาใช่เป็นเพียงการกระทำผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๘๖๓/๒๕๔๓
ป.อ. มาตรา ๓๔๑ , ๓๕๗
การกระทำของจำเลยที่กล่าวอ้างต่อผู้เสียหายว่าจะติดต่อให้ผู้เสียหายไถ่รถยนต์กระบะคืนจากคนร้าย และเรียกร้องเงินโดยอ้างเป็นค่าใช้จ่าย ในการดำเนินการจำนวน ๓,๕๐๐ บาท กับอ้างว่าคนร้ายต้องการค่าไถ่จำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท แต่ก็ไม่เกิดผลตามที่จำเลยอ้าง ในที่สุดผู้เสียหายก็ยังไม่ได้รถยนต์กระบะคืน จึงแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยดำเนินคดี
แม้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยและให้จำเลยนำไปบ้านของผู้มีชื่อ ที่อ้างว่าเป็นที่ซ่อนรถยนต์กระบะ ก็ไม่พบ ยังไม่เพียงพอให้รับฟังได้ว่าเป็นการช่วยจำหน่ายรถยนต์กระบะของผู้เสียหายซึ่งถูกคนร้ายลักไปอันจะทำให้จำเลยต้องมีความผิดฐานรับของโจร แต่พยานหลักฐานดังกล่าวรับฟังได้ว่า จำเลยมีเจตนาทุจริตแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หลอกลวงผู้เสียหายเพื่อให้เงินแก่จำเลยและได้รับไปแล้ว จำนวน ๓,๕๐๐ บาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
พยานจำเลยซึ่งนำสืบต่อสู้ในทำนองจำเลยเพียงแต่มีเจตนาช่วยเหลือผู้เสียหายนั้นขัดแย้งต่อเหตุผลและผิดวิสัยที่คนซึ่งไม่เคยรู้จักกันมาก่อนจะกล้าสอดเข้าไปเป็นตัวกลางระหว่างคนร้ายกับผู้เสียหายในการเรียกร้องค่าไถ่รถยนต์กระบะดังกล่าวเพราะรังแต่จะเสี่ยงต่อการถูกกล่าวหาว่าร่วมกระทำผิดกับคนร้ายที่ลักรถยนต์กระบะของผู้เสียหายไป พยานจำเลยจึงไม่มีน้ำหนักรับฟังหักล้างพยานโจทก์
ป.อ. มาตรา ๓๕๒
การที่ อ. ผู้เสียหายตกลงให้จำเลยเอารถกระบะที่ผู้เสียหายทำสัญญาเช่าซื้อมาไปใช้โดยจำเลยเป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ โดยมีข้อตกลงกันระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยว่า จำเลยจะเป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหาย หลังจากจำเลยได้รับมอบการครอบครองรถกระบะจากผู้เสียหายแล้ว ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยพารถกระบะหลบหนีไปขายแก่บุคคลภายนอก หรือแอบอ้างว่าเป็นรถกระบะของตนเอง ด้วยการปฏิเสธว่าไม่ได้รับมอบรถกระบะจากผู้เสียหายแต่อย่างใด แต่จำเลยครอบครองใช้รถกระบะนั้นโดยเปิดเผยและได้ชำระค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหายเรื่อยมาจำนวนถึง ๕ งวดติดต่อกัน
ต่อมาจำเลยค้างส่งค่างวดจึงได้มอบรถกระบะให้ ช. โดยทำความตกลงกับ ช. ให้ ช. เป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อที่เหลือต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยรวมทั้งที่จำเลยรับเงินมัดจำจาก ช. ในวันทำสัญญาเป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท และในสัญญาระบุว่าจำเลยและ ช. ซื้อขายรถยนต์ (รถกระบะ) นั้น ยังมิใช่การเอารถกระบะทรัพย์สินของผู้ให้เช่าซื้อไปขายแต่เป็นเพียงการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ ช. โดยมีข้อตกลงให้ ช. มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อต่อไป เพราะจำเลยประสงค์จะหาบุคคลอื่นมาช่วยรับภาระในการผ่อนค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหาย จำเลยจึงมิได้เบียดบังเอารถกระบะดังกล่าวเป็นของตนเองหรือผู้อื่นโดยทุจริต ไม่เป็นเหตุทำให้การกระทำของจำเลยที่ไม่เป็นความผิดกลับกลายเป็นความผิดไปแต่อย่างใด
การที่จำเลยโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ ช. แม้จะมิได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าซื้อก็มีผลในทางแพ่งเพียงว่า ผู้ให้เช่าซื้อยังคงมีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างจากผู้เสียหายผู้เช่าซื้อเดิมได้ต่อไป รวมทั้งเรียกค่าเสียหายในการที่ผู้ให้เช่าซื้อไม่อาจติดตามยึดรถกระบะคืนจากจำเลยได้ จำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานยักยอก
คําชี้ขาดความเห็นแย้งความผิดฐานยักยอก
(ชี้ขาดความเห็นแย้งที่ ๕๑๘/๒๕๕๔)
ป.อ. ยักยอก (มาตรา ๓๕๒)
ผู้ต้องหาอาศัยการที่เคยรู้จักทําธุรกิจค้าขายรถยนต์ ผู้เสียหายเชื่อใจ และยอมให้ผู้ต้องหานํารถยนต์กระบะยี่ห้อนิสสันรุ่นฟอนเทียไปขายตามที่ผู้ต้องหาอ้าง ผู้ต้องหาแจ้งว่า ถ้าขายรถยนต์ได้แล้วจะโอนเงินให้ผู้เสียหาย แต่ผู้ต้องหาก็มิได้โอนเงินให้แต่อย่างใด
ต่อมาไม่นาน ผู้ต้องหาได้นํารถยนต์กระบะยี่ห้ออีซูซุ รุ่นไฮแลนเดอร์ มาเสนอขายให้กับผู้เสียหาย ผู้เสียหายตกลงซื้อ ผู้ต้องหาก็ขอรับรถยนต์คันดังกล่าวไปอีก โดยอ้างว่าเพื่อนําไปขายต่อเอากำไรและจะนำเงินที่ขายได้ให้ผู้เสียหาย แต่ผู้ต้องหาก็มิได้โอนเงินค่าขายรถให้แก่ผู้เสียหายแล้วหลบหนีไป ประกอบกับผู้ต้องหาเคยมีประวัติต้องโทษในคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์และเช็คหลายคดี จึงน่าเชื่อว่าผู้ต้องหามีเจตนาทุจริตหลอกลวงผู้เสียหายมาตั้งแต่ต้นในการนํารถยนต์ทั้งสองคันดังกล่าวไป และโดยการหลอกลวงดังนั้นได้ไปซึ่งรถยนต์ทั้งสองคันดังกล่าวจากผู้เสียหาย
การกระทําของผู้ต้องหาจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 เป็นการกระทําความผิดสองกรรมต่างกัน แต่ไม่เป็นลักทรัพย์หรือยักยอก
อัยการสูงสุดชี้ขาดไม่ฟ้องนาย ฐ. ในความผิดฐานยักยอก สั่งฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๓๗๐๔/๒๕๕๓
ป.อ.ยักยอก (มาตรา ๓๕๒)
จำเลยตกลงซื้อรถยนต์กระบะของบริษัทผู้เสียหายจากผู้เช่าซื้อโดยผ่านนาย ก. และจำเลยได้จ่ายเงินส่วนหนึ่งให้แก่ นาย ก. และรับรถยนต์ไป โดยนัดจะไปเปลี่ยนตัวผู้เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อที่บริษัทผู้เสียหายในวันรุ่งขึ้น แต่จำเลยกลับไม่ไปทำสัญญาเช่าซื้อตามนัด และไม่นำรถยนต์มาคืน ทั้งยังหลบหนีไป จนกระทั่ง ถูกเจ้าพนักงานตำรวจออกหมายจับ
พฤติการณ์ย่อมฟังได้ว่า จำเลยมีเจตนาเบียดบังเอารถยนต์กระบะคันดังกล่าวไปเป็นของตนหรือของบุคคลที่สามโดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดฐานยักยอก ไม่ใช่เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๙๖๐/๒๕๕๑
ป.อ. มาตรา ๓๔๑
ป.วิ.อ. มาตรา ๒ (๔)
ผู้เสียหายเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันซึ่งเช่าซื้อมาจากบริษัท ต่อมาผู้เสียหายขายดาวน์รถยนต์คันดังกล่าวให้แก่จำเลยเป็นผู้เช่าซื้อแทน จำเลยทำสัญญาซื้อกับผู้เสียหายโดยหลอกลวงใช้ชื่อและที่อยู่ผิดไปจากความจริง และผู้เสียหายขอดูบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านจากจำเลย แต่จำเลยไม่แสดงให้ผู้เสียหายดู จึงเป็นการหลอกลวงผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ
อีกทั้ง หลังจากทำสัญญาแล้วจำเลยก็ไม่มาทำสัญญาเปลี่ยนตัวผู้เช่าซื้อตามที่ตกลงกันไว้ พฤติการณ์ของจำเลยแสดงให้เห็นว่า จำเลยมีเจตนาทุจริตมาตั้งแต่แรกในการหลอกลวงผู้เสียหายเพื่อประสงค์จะไม่ให้ผู้เสียหายติดตามทวงรถยนต์คืนได้ โดยการหลอกลวงดังกล่าวทำให้จำเลยได้ไปซึ่งรถยนต์เสียหาย การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นการร่วมกันฉ้อโกงผู้เสียหาย
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อจะมีข้อสัญญาห้ามมิให้ผู้เช่าซื้อนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปจำหน่ายให้แก่บุคคลอื่น ซึ่งการกระทำของผู้เสียหายอาจจะเป็นความฐานยักยอกด้วยหรือไม่นั้น ก็เป็นเรื่องระหว่างผู้ให้เช่าซื้อกับผู้เสียหายซึ่งจะต้องไปว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่ง ทั้งข้อเท็จจริงยังได้ความจากคำเบิกความของผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายแจ้งให้บริษัทผู้ให้เช่าซื้อทราบแล้วว่าจะทำสัญญาเปลี่ยนตัวผู้เช่าซื้อเป็นจำเลย เมื่อจำเลยกับพวกร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายให้ขายดาวน์รถยนต์แก่จำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายโดยตรงโดยผู้เสียหายไม่ได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงด้วย
อีกทั้ง ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายเป็นผู้ครอบครองและใช้ประโยชน์จากรถยนต์คันดังกล่าวในฐานะผู้เช่าซื้อ จึงเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒ (๔) ผู้เสียหายจึงมีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้
รถยนต์ที่จำเลยฉ้อโกงไปจากผู้เสียหาย ไม่ใช่รถยนต์ของผู้เสียหาย แต่เป็นรถยนต์ของบริษัทเจ้าของรถ ซึ่งผู้เสียหายเป็นผู้ครอบครองในฐานะผู้เช่าซื้อเท่านั้น ประกอบกับผู้เสียหายชำระค่าเช่าซื้อให้แก่บริษัทดังกล่าวบางส่วน แล้วผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตลอดมา ดังนั้น เพื่อให้การคืนรถยนต์หรือใช้ราคาเป็นไปโดยถูกต้อง จึงให้จำเลยคืนรถยนต์หรือใช้ราคาแก่เจ้าของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๗๒๗/๒๕๔๔
ป.อ. มาตรา ๓๕๒
จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกจากบริษัท อ. โดยชำระเงินในวันทำสัญญาบางส่วน ที่เหลือผ่อนชำระเดือนละงวดรวม ๓๖ งวดมีชาวบ้านที่จำเลยจ้างมาเป็นผู้ค้ำประกัน หลังจากทำสัญญาเช่าซื้อและรับรถไปแล้วจำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดแรกและไม่ติดต่อกับผู้เสียหายอีกเลย บริษัท อ. จึงบอกเลิกสัญญา แต่จำเลยไม่ส่งมอบรถคืน เมื่อสอบถามจำเลย จำเลยแจ้งว่าขายไปแล้วแต่ไม่ยอมบอกว่าขายให้แก่ผู้ใด ไม่ปรากฏว่านายเหน่งที่ว่ามีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ เป็นคนที่ไหนเกี่ยวข้องใกล้ชิดอย่างไร และเพราะเหตุใดจำเลยจึงส่งมอบรถยนต์ซึ่งมีราคาสูงให้ไปโดยไม่ต้องมีหลักฐาน หากเป็นความจริงตามวิสัยผู้สุจริต จำเลยต้องรีบแจ้งผู้เสียหาย แจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานให้ติดตามผู้กระทำผิด และตามรถยนต์คืน แต่จำเลยไม่ได้ทำ ข้ออ้างว่าจำเลยได้แจ้งผู้เสียหายกับแจ้งความร้องทุกข์แล้วแต่เจ้าพนักงานไม่ยอมรับแจ้งนั้นไม่น่าเชื่อ
ดังนี้ การที่จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อและชำระเงินล่วงหน้าก็เพื่อให้ได้รถยนต์ไปไว้ในครอบครอง มิได้มีเจตนาจะชำระราคาอีก พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นการเบียดบังเอาทรัพย์ของบริษัท อ. ที่อยู่ในครอบครองของจำเลยไปโดยทุจริตเป็นความผิดฐานยักยอก หาใช่เป็นเพียงการกระทำผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๘๖๓/๒๕๔๓
ป.อ. มาตรา ๓๔๑ , ๓๕๗
การกระทำของจำเลยที่กล่าวอ้างต่อผู้เสียหายว่าจะติดต่อให้ผู้เสียหายไถ่รถยนต์กระบะคืนจากคนร้าย และเรียกร้องเงินโดยอ้างเป็นค่าใช้จ่าย ในการดำเนินการจำนวน ๓,๕๐๐ บาท กับอ้างว่าคนร้ายต้องการค่าไถ่จำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท แต่ก็ไม่เกิดผลตามที่จำเลยอ้าง ในที่สุดผู้เสียหายก็ยังไม่ได้รถยนต์กระบะคืน จึงแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยดำเนินคดี
แม้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยและให้จำเลยนำไปบ้านของผู้มีชื่อ ที่อ้างว่าเป็นที่ซ่อนรถยนต์กระบะ ก็ไม่พบ ยังไม่เพียงพอให้รับฟังได้ว่าเป็นการช่วยจำหน่ายรถยนต์กระบะของผู้เสียหายซึ่งถูกคนร้ายลักไปอันจะทำให้จำเลยต้องมีความผิดฐานรับของโจร แต่พยานหลักฐานดังกล่าวรับฟังได้ว่า จำเลยมีเจตนาทุจริตแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หลอกลวงผู้เสียหายเพื่อให้เงินแก่จำเลยและได้รับไปแล้ว จำนวน ๓,๕๐๐ บาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
พยานจำเลยซึ่งนำสืบต่อสู้ในทำนองจำเลยเพียงแต่มีเจตนาช่วยเหลือผู้เสียหายนั้นขัดแย้งต่อเหตุผลและผิดวิสัยที่คนซึ่งไม่เคยรู้จักกันมาก่อนจะกล้าสอดเข้าไปเป็นตัวกลางระหว่างคนร้ายกับผู้เสียหายในการเรียกร้องค่าไถ่รถยนต์กระบะดังกล่าวเพราะรังแต่จะเสี่ยงต่อการถูกกล่าวหาว่าร่วมกระทำผิดกับคนร้ายที่ลักรถยนต์กระบะของผู้เสียหายไป พยานจำเลยจึงไม่มีน้ำหนักรับฟังหักล้างพยานโจทก์