คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 7650/2554
ป.อ. วิ่งราวทรัพย์ พยายาม (มาตรา 336, 336 ทวิ, 83)
ขณะที่ผู้เสียหายนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ซึ่งมีนาย ธ. เป็นผู้ขับขี่ จำเลยขับรถจักรยานยนต์มีพวกนั่งซ้อนท้ายมาหนึ่งคน พวกของจําเลยได้กระชากกระเป๋าของผู้เสียหายที่สะพายอยู่ที่ไหล่หลุดออกจากไหล่ ผู้เสียหายได้เอี้ยวตัวหลบและยึดลําตัวนาย ธ. คนขับขี่ไว้ไม่ให้ตกจากรถเป็นเหตุให้รถจักรยานยนต์คันที่ผู้เสียหายนั่งซ้อนท้ายเสียการทรงตัวไปเฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์ของจําเลยล้มลง จนศีรษะผู้เสียหายกระแทกพื้นถนนหมดสติไป กระเป๋าของผู้เสียหายหล่นไปบนถนนห่างจากจุดเดิม 5 เมตร แสดงว่าพวกของจำเลยกระชากกระเป๋าสะพายของผู้เสียหายหลุดจากตัวผู้เสียหายมาอยู่ในความครอบครองแล้ว ถือว่าการวิ่งราวเอากระเป๋าสะพายของผู้เสียหายไปจากความครอบครองผู้เสียหายเป็นความผิดสําเร็จแล้ว
พิพากษาว่า จําเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 วรรคสองและวรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 336 ทวิ, 83 การกระทําของจําเลยเป็นกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันวิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสโดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทําผิด อันเป็นบทหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
✩ รวบรวมคำพิพากษาฎีกาความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ✩ความถูกต้องเป็นไปตามวันที่เขียนบทความและอัพเดท✩
วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557
วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557
ลักข้อมูลส่งทาง email
คําชี้ขาดความเห็นแย้งความผิดฐานร่วมกันเอาไปเสียซึ่งเอกสารใดของผู้อื่นในประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ร่วมกันลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างในเวลากลางคืน
(ชี้ขาดความเห็นแย้งที่ 236/2552)
ป.อ. ลักทรัพย์นายจ้าง (มาตรา 335 (7) (11) )
การที่ผู้ต้องหาทั้งห้าร่วมกันส่งข้อมูลความลับทางการค้าของบริษัทผู้เสียหายรวม 4 ครั้ง ไปยังบุคคลอื่นทางจดหมายอิเล็คทรอนิคส์นั้น ข้อมูลที่อยู่ในแผ่นบันทึกข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ไม่ถือเป็นวัตถุมีรูปร่าง ตัวอักษร ภาพ แผนผังและตราสาร เป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ถ่ายทอดความหมายของข้อมูลออกจากแผ่นบันทึกข้อมูลโดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ มิใช่รูปร่างของข้อมูล ข้อมูลดังกล่าวไม่ถือเป็นทรัพย์
จากการตรวจค้นบริษัท อ. ไม่สามารถตรวจยึดเอกสารของบริษัทผู้เสียหายได้ คงพบเพียงว่ามีข้อมูลของบริษัทผู้เสียหายอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในบริษัทของผู้ต้องหาทั้งห้าเท่านั้น การจัดส่งข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นทางจดหมายอีเล็กทรอนิกส์เป็นเพียงการทําสําเนาข้อมูล ข้อมูลดังกล่าวยังคงมีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ได้สูญหายหรือถูกทําลายไป การกระทําจึงไม่เป็นความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารและลักทรัพย์
(ชี้ขาดความเห็นแย้งที่ 236/2552)
ป.อ. ลักทรัพย์นายจ้าง (มาตรา 335 (7) (11) )
การที่ผู้ต้องหาทั้งห้าร่วมกันส่งข้อมูลความลับทางการค้าของบริษัทผู้เสียหายรวม 4 ครั้ง ไปยังบุคคลอื่นทางจดหมายอิเล็คทรอนิคส์นั้น ข้อมูลที่อยู่ในแผ่นบันทึกข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ไม่ถือเป็นวัตถุมีรูปร่าง ตัวอักษร ภาพ แผนผังและตราสาร เป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ถ่ายทอดความหมายของข้อมูลออกจากแผ่นบันทึกข้อมูลโดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ มิใช่รูปร่างของข้อมูล ข้อมูลดังกล่าวไม่ถือเป็นทรัพย์
จากการตรวจค้นบริษัท อ. ไม่สามารถตรวจยึดเอกสารของบริษัทผู้เสียหายได้ คงพบเพียงว่ามีข้อมูลของบริษัทผู้เสียหายอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในบริษัทของผู้ต้องหาทั้งห้าเท่านั้น การจัดส่งข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นทางจดหมายอีเล็กทรอนิกส์เป็นเพียงการทําสําเนาข้อมูล ข้อมูลดังกล่าวยังคงมีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ได้สูญหายหรือถูกทําลายไป การกระทําจึงไม่เป็นความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารและลักทรัพย์
วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557
ทุจริตซื้อขายรถยนต์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๗๑๖/๒๕๕๔
ป.อ. มาตรา ๓๕๒
การที่ อ. ผู้เสียหายตกลงให้จำเลยเอารถกระบะที่ผู้เสียหายทำสัญญาเช่าซื้อมาไปใช้โดยจำเลยเป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ โดยมีข้อตกลงกันระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยว่า จำเลยจะเป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหาย หลังจากจำเลยได้รับมอบการครอบครองรถกระบะจากผู้เสียหายแล้ว ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยพารถกระบะหลบหนีไปขายแก่บุคคลภายนอก หรือแอบอ้างว่าเป็นรถกระบะของตนเอง ด้วยการปฏิเสธว่าไม่ได้รับมอบรถกระบะจากผู้เสียหายแต่อย่างใด แต่จำเลยครอบครองใช้รถกระบะนั้นโดยเปิดเผยและได้ชำระค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหายเรื่อยมาจำนวนถึง ๕ งวดติดต่อกัน
ต่อมาจำเลยค้างส่งค่างวดจึงได้มอบรถกระบะให้ ช. โดยทำความตกลงกับ ช. ให้ ช. เป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อที่เหลือต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยรวมทั้งที่จำเลยรับเงินมัดจำจาก ช. ในวันทำสัญญาเป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท และในสัญญาระบุว่าจำเลยและ ช. ซื้อขายรถยนต์ (รถกระบะ) นั้น ยังมิใช่การเอารถกระบะทรัพย์สินของผู้ให้เช่าซื้อไปขายแต่เป็นเพียงการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ ช. โดยมีข้อตกลงให้ ช. มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อต่อไป เพราะจำเลยประสงค์จะหาบุคคลอื่นมาช่วยรับภาระในการผ่อนค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหาย จำเลยจึงมิได้เบียดบังเอารถกระบะดังกล่าวเป็นของตนเองหรือผู้อื่นโดยทุจริต ไม่เป็นเหตุทำให้การกระทำของจำเลยที่ไม่เป็นความผิดกลับกลายเป็นความผิดไปแต่อย่างใด
การที่จำเลยโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ ช. แม้จะมิได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าซื้อก็มีผลในทางแพ่งเพียงว่า ผู้ให้เช่าซื้อยังคงมีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างจากผู้เสียหายผู้เช่าซื้อเดิมได้ต่อไป รวมทั้งเรียกค่าเสียหายในการที่ผู้ให้เช่าซื้อไม่อาจติดตามยึดรถกระบะคืนจากจำเลยได้ จำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานยักยอก
คําชี้ขาดความเห็นแย้งความผิดฐานยักยอก
(ชี้ขาดความเห็นแย้งที่ ๕๑๘/๒๕๕๔)
ป.อ. ยักยอก (มาตรา ๓๕๒)
ผู้ต้องหาอาศัยการที่เคยรู้จักทําธุรกิจค้าขายรถยนต์ ผู้เสียหายเชื่อใจ และยอมให้ผู้ต้องหานํารถยนต์กระบะยี่ห้อนิสสันรุ่นฟอนเทียไปขายตามที่ผู้ต้องหาอ้าง ผู้ต้องหาแจ้งว่า ถ้าขายรถยนต์ได้แล้วจะโอนเงินให้ผู้เสียหาย แต่ผู้ต้องหาก็มิได้โอนเงินให้แต่อย่างใด
ต่อมาไม่นาน ผู้ต้องหาได้นํารถยนต์กระบะยี่ห้ออีซูซุ รุ่นไฮแลนเดอร์ มาเสนอขายให้กับผู้เสียหาย ผู้เสียหายตกลงซื้อ ผู้ต้องหาก็ขอรับรถยนต์คันดังกล่าวไปอีก โดยอ้างว่าเพื่อนําไปขายต่อเอากำไรและจะนำเงินที่ขายได้ให้ผู้เสียหาย แต่ผู้ต้องหาก็มิได้โอนเงินค่าขายรถให้แก่ผู้เสียหายแล้วหลบหนีไป ประกอบกับผู้ต้องหาเคยมีประวัติต้องโทษในคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์และเช็คหลายคดี จึงน่าเชื่อว่าผู้ต้องหามีเจตนาทุจริตหลอกลวงผู้เสียหายมาตั้งแต่ต้นในการนํารถยนต์ทั้งสองคันดังกล่าวไป และโดยการหลอกลวงดังนั้นได้ไปซึ่งรถยนต์ทั้งสองคันดังกล่าวจากผู้เสียหาย
การกระทําของผู้ต้องหาจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 เป็นการกระทําความผิดสองกรรมต่างกัน แต่ไม่เป็นลักทรัพย์หรือยักยอก
อัยการสูงสุดชี้ขาดไม่ฟ้องนาย ฐ. ในความผิดฐานยักยอก สั่งฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๓๗๐๔/๒๕๕๓
ป.อ.ยักยอก (มาตรา ๓๕๒)
จำเลยตกลงซื้อรถยนต์กระบะของบริษัทผู้เสียหายจากผู้เช่าซื้อโดยผ่านนาย ก. และจำเลยได้จ่ายเงินส่วนหนึ่งให้แก่ นาย ก. และรับรถยนต์ไป โดยนัดจะไปเปลี่ยนตัวผู้เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อที่บริษัทผู้เสียหายในวันรุ่งขึ้น แต่จำเลยกลับไม่ไปทำสัญญาเช่าซื้อตามนัด และไม่นำรถยนต์มาคืน ทั้งยังหลบหนีไป จนกระทั่ง ถูกเจ้าพนักงานตำรวจออกหมายจับ
พฤติการณ์ย่อมฟังได้ว่า จำเลยมีเจตนาเบียดบังเอารถยนต์กระบะคันดังกล่าวไปเป็นของตนหรือของบุคคลที่สามโดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดฐานยักยอก ไม่ใช่เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๙๖๐/๒๕๕๑
ป.อ. มาตรา ๓๔๑
ป.วิ.อ. มาตรา ๒ (๔)
ผู้เสียหายเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันซึ่งเช่าซื้อมาจากบริษัท ต่อมาผู้เสียหายขายดาวน์รถยนต์คันดังกล่าวให้แก่จำเลยเป็นผู้เช่าซื้อแทน จำเลยทำสัญญาซื้อกับผู้เสียหายโดยหลอกลวงใช้ชื่อและที่อยู่ผิดไปจากความจริง และผู้เสียหายขอดูบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านจากจำเลย แต่จำเลยไม่แสดงให้ผู้เสียหายดู จึงเป็นการหลอกลวงผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ
อีกทั้ง หลังจากทำสัญญาแล้วจำเลยก็ไม่มาทำสัญญาเปลี่ยนตัวผู้เช่าซื้อตามที่ตกลงกันไว้ พฤติการณ์ของจำเลยแสดงให้เห็นว่า จำเลยมีเจตนาทุจริตมาตั้งแต่แรกในการหลอกลวงผู้เสียหายเพื่อประสงค์จะไม่ให้ผู้เสียหายติดตามทวงรถยนต์คืนได้ โดยการหลอกลวงดังกล่าวทำให้จำเลยได้ไปซึ่งรถยนต์เสียหาย การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นการร่วมกันฉ้อโกงผู้เสียหาย
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อจะมีข้อสัญญาห้ามมิให้ผู้เช่าซื้อนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปจำหน่ายให้แก่บุคคลอื่น ซึ่งการกระทำของผู้เสียหายอาจจะเป็นความฐานยักยอกด้วยหรือไม่นั้น ก็เป็นเรื่องระหว่างผู้ให้เช่าซื้อกับผู้เสียหายซึ่งจะต้องไปว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่ง ทั้งข้อเท็จจริงยังได้ความจากคำเบิกความของผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายแจ้งให้บริษัทผู้ให้เช่าซื้อทราบแล้วว่าจะทำสัญญาเปลี่ยนตัวผู้เช่าซื้อเป็นจำเลย เมื่อจำเลยกับพวกร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายให้ขายดาวน์รถยนต์แก่จำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายโดยตรงโดยผู้เสียหายไม่ได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงด้วย
อีกทั้ง ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายเป็นผู้ครอบครองและใช้ประโยชน์จากรถยนต์คันดังกล่าวในฐานะผู้เช่าซื้อ จึงเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒ (๔) ผู้เสียหายจึงมีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้
รถยนต์ที่จำเลยฉ้อโกงไปจากผู้เสียหาย ไม่ใช่รถยนต์ของผู้เสียหาย แต่เป็นรถยนต์ของบริษัทเจ้าของรถ ซึ่งผู้เสียหายเป็นผู้ครอบครองในฐานะผู้เช่าซื้อเท่านั้น ประกอบกับผู้เสียหายชำระค่าเช่าซื้อให้แก่บริษัทดังกล่าวบางส่วน แล้วผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตลอดมา ดังนั้น เพื่อให้การคืนรถยนต์หรือใช้ราคาเป็นไปโดยถูกต้อง จึงให้จำเลยคืนรถยนต์หรือใช้ราคาแก่เจ้าของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๗๒๗/๒๕๔๔
ป.อ. มาตรา ๓๕๒
จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกจากบริษัท อ. โดยชำระเงินในวันทำสัญญาบางส่วน ที่เหลือผ่อนชำระเดือนละงวดรวม ๓๖ งวดมีชาวบ้านที่จำเลยจ้างมาเป็นผู้ค้ำประกัน หลังจากทำสัญญาเช่าซื้อและรับรถไปแล้วจำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดแรกและไม่ติดต่อกับผู้เสียหายอีกเลย บริษัท อ. จึงบอกเลิกสัญญา แต่จำเลยไม่ส่งมอบรถคืน เมื่อสอบถามจำเลย จำเลยแจ้งว่าขายไปแล้วแต่ไม่ยอมบอกว่าขายให้แก่ผู้ใด ไม่ปรากฏว่านายเหน่งที่ว่ามีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ เป็นคนที่ไหนเกี่ยวข้องใกล้ชิดอย่างไร และเพราะเหตุใดจำเลยจึงส่งมอบรถยนต์ซึ่งมีราคาสูงให้ไปโดยไม่ต้องมีหลักฐาน หากเป็นความจริงตามวิสัยผู้สุจริต จำเลยต้องรีบแจ้งผู้เสียหาย แจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานให้ติดตามผู้กระทำผิด และตามรถยนต์คืน แต่จำเลยไม่ได้ทำ ข้ออ้างว่าจำเลยได้แจ้งผู้เสียหายกับแจ้งความร้องทุกข์แล้วแต่เจ้าพนักงานไม่ยอมรับแจ้งนั้นไม่น่าเชื่อ
ดังนี้ การที่จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อและชำระเงินล่วงหน้าก็เพื่อให้ได้รถยนต์ไปไว้ในครอบครอง มิได้มีเจตนาจะชำระราคาอีก พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นการเบียดบังเอาทรัพย์ของบริษัท อ. ที่อยู่ในครอบครองของจำเลยไปโดยทุจริตเป็นความผิดฐานยักยอก หาใช่เป็นเพียงการกระทำผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๘๖๓/๒๕๔๓
ป.อ. มาตรา ๓๔๑ , ๓๕๗
การกระทำของจำเลยที่กล่าวอ้างต่อผู้เสียหายว่าจะติดต่อให้ผู้เสียหายไถ่รถยนต์กระบะคืนจากคนร้าย และเรียกร้องเงินโดยอ้างเป็นค่าใช้จ่าย ในการดำเนินการจำนวน ๓,๕๐๐ บาท กับอ้างว่าคนร้ายต้องการค่าไถ่จำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท แต่ก็ไม่เกิดผลตามที่จำเลยอ้าง ในที่สุดผู้เสียหายก็ยังไม่ได้รถยนต์กระบะคืน จึงแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยดำเนินคดี
แม้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยและให้จำเลยนำไปบ้านของผู้มีชื่อ ที่อ้างว่าเป็นที่ซ่อนรถยนต์กระบะ ก็ไม่พบ ยังไม่เพียงพอให้รับฟังได้ว่าเป็นการช่วยจำหน่ายรถยนต์กระบะของผู้เสียหายซึ่งถูกคนร้ายลักไปอันจะทำให้จำเลยต้องมีความผิดฐานรับของโจร แต่พยานหลักฐานดังกล่าวรับฟังได้ว่า จำเลยมีเจตนาทุจริตแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หลอกลวงผู้เสียหายเพื่อให้เงินแก่จำเลยและได้รับไปแล้ว จำนวน ๓,๕๐๐ บาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
พยานจำเลยซึ่งนำสืบต่อสู้ในทำนองจำเลยเพียงแต่มีเจตนาช่วยเหลือผู้เสียหายนั้นขัดแย้งต่อเหตุผลและผิดวิสัยที่คนซึ่งไม่เคยรู้จักกันมาก่อนจะกล้าสอดเข้าไปเป็นตัวกลางระหว่างคนร้ายกับผู้เสียหายในการเรียกร้องค่าไถ่รถยนต์กระบะดังกล่าวเพราะรังแต่จะเสี่ยงต่อการถูกกล่าวหาว่าร่วมกระทำผิดกับคนร้ายที่ลักรถยนต์กระบะของผู้เสียหายไป พยานจำเลยจึงไม่มีน้ำหนักรับฟังหักล้างพยานโจทก์
ป.อ. มาตรา ๓๕๒
การที่ อ. ผู้เสียหายตกลงให้จำเลยเอารถกระบะที่ผู้เสียหายทำสัญญาเช่าซื้อมาไปใช้โดยจำเลยเป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ โดยมีข้อตกลงกันระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยว่า จำเลยจะเป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหาย หลังจากจำเลยได้รับมอบการครอบครองรถกระบะจากผู้เสียหายแล้ว ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยพารถกระบะหลบหนีไปขายแก่บุคคลภายนอก หรือแอบอ้างว่าเป็นรถกระบะของตนเอง ด้วยการปฏิเสธว่าไม่ได้รับมอบรถกระบะจากผู้เสียหายแต่อย่างใด แต่จำเลยครอบครองใช้รถกระบะนั้นโดยเปิดเผยและได้ชำระค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหายเรื่อยมาจำนวนถึง ๕ งวดติดต่อกัน
ต่อมาจำเลยค้างส่งค่างวดจึงได้มอบรถกระบะให้ ช. โดยทำความตกลงกับ ช. ให้ ช. เป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อที่เหลือต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยรวมทั้งที่จำเลยรับเงินมัดจำจาก ช. ในวันทำสัญญาเป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท และในสัญญาระบุว่าจำเลยและ ช. ซื้อขายรถยนต์ (รถกระบะ) นั้น ยังมิใช่การเอารถกระบะทรัพย์สินของผู้ให้เช่าซื้อไปขายแต่เป็นเพียงการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ ช. โดยมีข้อตกลงให้ ช. มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อต่อไป เพราะจำเลยประสงค์จะหาบุคคลอื่นมาช่วยรับภาระในการผ่อนค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหาย จำเลยจึงมิได้เบียดบังเอารถกระบะดังกล่าวเป็นของตนเองหรือผู้อื่นโดยทุจริต ไม่เป็นเหตุทำให้การกระทำของจำเลยที่ไม่เป็นความผิดกลับกลายเป็นความผิดไปแต่อย่างใด
การที่จำเลยโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ ช. แม้จะมิได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าซื้อก็มีผลในทางแพ่งเพียงว่า ผู้ให้เช่าซื้อยังคงมีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างจากผู้เสียหายผู้เช่าซื้อเดิมได้ต่อไป รวมทั้งเรียกค่าเสียหายในการที่ผู้ให้เช่าซื้อไม่อาจติดตามยึดรถกระบะคืนจากจำเลยได้ จำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานยักยอก
คําชี้ขาดความเห็นแย้งความผิดฐานยักยอก
(ชี้ขาดความเห็นแย้งที่ ๕๑๘/๒๕๕๔)
ป.อ. ยักยอก (มาตรา ๓๕๒)
ผู้ต้องหาอาศัยการที่เคยรู้จักทําธุรกิจค้าขายรถยนต์ ผู้เสียหายเชื่อใจ และยอมให้ผู้ต้องหานํารถยนต์กระบะยี่ห้อนิสสันรุ่นฟอนเทียไปขายตามที่ผู้ต้องหาอ้าง ผู้ต้องหาแจ้งว่า ถ้าขายรถยนต์ได้แล้วจะโอนเงินให้ผู้เสียหาย แต่ผู้ต้องหาก็มิได้โอนเงินให้แต่อย่างใด
ต่อมาไม่นาน ผู้ต้องหาได้นํารถยนต์กระบะยี่ห้ออีซูซุ รุ่นไฮแลนเดอร์ มาเสนอขายให้กับผู้เสียหาย ผู้เสียหายตกลงซื้อ ผู้ต้องหาก็ขอรับรถยนต์คันดังกล่าวไปอีก โดยอ้างว่าเพื่อนําไปขายต่อเอากำไรและจะนำเงินที่ขายได้ให้ผู้เสียหาย แต่ผู้ต้องหาก็มิได้โอนเงินค่าขายรถให้แก่ผู้เสียหายแล้วหลบหนีไป ประกอบกับผู้ต้องหาเคยมีประวัติต้องโทษในคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์และเช็คหลายคดี จึงน่าเชื่อว่าผู้ต้องหามีเจตนาทุจริตหลอกลวงผู้เสียหายมาตั้งแต่ต้นในการนํารถยนต์ทั้งสองคันดังกล่าวไป และโดยการหลอกลวงดังนั้นได้ไปซึ่งรถยนต์ทั้งสองคันดังกล่าวจากผู้เสียหาย
การกระทําของผู้ต้องหาจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 เป็นการกระทําความผิดสองกรรมต่างกัน แต่ไม่เป็นลักทรัพย์หรือยักยอก
อัยการสูงสุดชี้ขาดไม่ฟ้องนาย ฐ. ในความผิดฐานยักยอก สั่งฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๓๗๐๔/๒๕๕๓
ป.อ.ยักยอก (มาตรา ๓๕๒)
จำเลยตกลงซื้อรถยนต์กระบะของบริษัทผู้เสียหายจากผู้เช่าซื้อโดยผ่านนาย ก. และจำเลยได้จ่ายเงินส่วนหนึ่งให้แก่ นาย ก. และรับรถยนต์ไป โดยนัดจะไปเปลี่ยนตัวผู้เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อที่บริษัทผู้เสียหายในวันรุ่งขึ้น แต่จำเลยกลับไม่ไปทำสัญญาเช่าซื้อตามนัด และไม่นำรถยนต์มาคืน ทั้งยังหลบหนีไป จนกระทั่ง ถูกเจ้าพนักงานตำรวจออกหมายจับ
พฤติการณ์ย่อมฟังได้ว่า จำเลยมีเจตนาเบียดบังเอารถยนต์กระบะคันดังกล่าวไปเป็นของตนหรือของบุคคลที่สามโดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดฐานยักยอก ไม่ใช่เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๙๖๐/๒๕๕๑
ป.อ. มาตรา ๓๔๑
ป.วิ.อ. มาตรา ๒ (๔)
ผู้เสียหายเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันซึ่งเช่าซื้อมาจากบริษัท ต่อมาผู้เสียหายขายดาวน์รถยนต์คันดังกล่าวให้แก่จำเลยเป็นผู้เช่าซื้อแทน จำเลยทำสัญญาซื้อกับผู้เสียหายโดยหลอกลวงใช้ชื่อและที่อยู่ผิดไปจากความจริง และผู้เสียหายขอดูบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านจากจำเลย แต่จำเลยไม่แสดงให้ผู้เสียหายดู จึงเป็นการหลอกลวงผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ
อีกทั้ง หลังจากทำสัญญาแล้วจำเลยก็ไม่มาทำสัญญาเปลี่ยนตัวผู้เช่าซื้อตามที่ตกลงกันไว้ พฤติการณ์ของจำเลยแสดงให้เห็นว่า จำเลยมีเจตนาทุจริตมาตั้งแต่แรกในการหลอกลวงผู้เสียหายเพื่อประสงค์จะไม่ให้ผู้เสียหายติดตามทวงรถยนต์คืนได้ โดยการหลอกลวงดังกล่าวทำให้จำเลยได้ไปซึ่งรถยนต์เสียหาย การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นการร่วมกันฉ้อโกงผู้เสียหาย
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อจะมีข้อสัญญาห้ามมิให้ผู้เช่าซื้อนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปจำหน่ายให้แก่บุคคลอื่น ซึ่งการกระทำของผู้เสียหายอาจจะเป็นความฐานยักยอกด้วยหรือไม่นั้น ก็เป็นเรื่องระหว่างผู้ให้เช่าซื้อกับผู้เสียหายซึ่งจะต้องไปว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่ง ทั้งข้อเท็จจริงยังได้ความจากคำเบิกความของผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายแจ้งให้บริษัทผู้ให้เช่าซื้อทราบแล้วว่าจะทำสัญญาเปลี่ยนตัวผู้เช่าซื้อเป็นจำเลย เมื่อจำเลยกับพวกร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายให้ขายดาวน์รถยนต์แก่จำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายโดยตรงโดยผู้เสียหายไม่ได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงด้วย
อีกทั้ง ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายเป็นผู้ครอบครองและใช้ประโยชน์จากรถยนต์คันดังกล่าวในฐานะผู้เช่าซื้อ จึงเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒ (๔) ผู้เสียหายจึงมีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้
รถยนต์ที่จำเลยฉ้อโกงไปจากผู้เสียหาย ไม่ใช่รถยนต์ของผู้เสียหาย แต่เป็นรถยนต์ของบริษัทเจ้าของรถ ซึ่งผู้เสียหายเป็นผู้ครอบครองในฐานะผู้เช่าซื้อเท่านั้น ประกอบกับผู้เสียหายชำระค่าเช่าซื้อให้แก่บริษัทดังกล่าวบางส่วน แล้วผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตลอดมา ดังนั้น เพื่อให้การคืนรถยนต์หรือใช้ราคาเป็นไปโดยถูกต้อง จึงให้จำเลยคืนรถยนต์หรือใช้ราคาแก่เจ้าของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๗๒๗/๒๕๔๔
ป.อ. มาตรา ๓๕๒
จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกจากบริษัท อ. โดยชำระเงินในวันทำสัญญาบางส่วน ที่เหลือผ่อนชำระเดือนละงวดรวม ๓๖ งวดมีชาวบ้านที่จำเลยจ้างมาเป็นผู้ค้ำประกัน หลังจากทำสัญญาเช่าซื้อและรับรถไปแล้วจำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดแรกและไม่ติดต่อกับผู้เสียหายอีกเลย บริษัท อ. จึงบอกเลิกสัญญา แต่จำเลยไม่ส่งมอบรถคืน เมื่อสอบถามจำเลย จำเลยแจ้งว่าขายไปแล้วแต่ไม่ยอมบอกว่าขายให้แก่ผู้ใด ไม่ปรากฏว่านายเหน่งที่ว่ามีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ เป็นคนที่ไหนเกี่ยวข้องใกล้ชิดอย่างไร และเพราะเหตุใดจำเลยจึงส่งมอบรถยนต์ซึ่งมีราคาสูงให้ไปโดยไม่ต้องมีหลักฐาน หากเป็นความจริงตามวิสัยผู้สุจริต จำเลยต้องรีบแจ้งผู้เสียหาย แจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานให้ติดตามผู้กระทำผิด และตามรถยนต์คืน แต่จำเลยไม่ได้ทำ ข้ออ้างว่าจำเลยได้แจ้งผู้เสียหายกับแจ้งความร้องทุกข์แล้วแต่เจ้าพนักงานไม่ยอมรับแจ้งนั้นไม่น่าเชื่อ
ดังนี้ การที่จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อและชำระเงินล่วงหน้าก็เพื่อให้ได้รถยนต์ไปไว้ในครอบครอง มิได้มีเจตนาจะชำระราคาอีก พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นการเบียดบังเอาทรัพย์ของบริษัท อ. ที่อยู่ในครอบครองของจำเลยไปโดยทุจริตเป็นความผิดฐานยักยอก หาใช่เป็นเพียงการกระทำผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๘๖๓/๒๕๔๓
ป.อ. มาตรา ๓๔๑ , ๓๕๗
การกระทำของจำเลยที่กล่าวอ้างต่อผู้เสียหายว่าจะติดต่อให้ผู้เสียหายไถ่รถยนต์กระบะคืนจากคนร้าย และเรียกร้องเงินโดยอ้างเป็นค่าใช้จ่าย ในการดำเนินการจำนวน ๓,๕๐๐ บาท กับอ้างว่าคนร้ายต้องการค่าไถ่จำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท แต่ก็ไม่เกิดผลตามที่จำเลยอ้าง ในที่สุดผู้เสียหายก็ยังไม่ได้รถยนต์กระบะคืน จึงแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยดำเนินคดี
แม้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยและให้จำเลยนำไปบ้านของผู้มีชื่อ ที่อ้างว่าเป็นที่ซ่อนรถยนต์กระบะ ก็ไม่พบ ยังไม่เพียงพอให้รับฟังได้ว่าเป็นการช่วยจำหน่ายรถยนต์กระบะของผู้เสียหายซึ่งถูกคนร้ายลักไปอันจะทำให้จำเลยต้องมีความผิดฐานรับของโจร แต่พยานหลักฐานดังกล่าวรับฟังได้ว่า จำเลยมีเจตนาทุจริตแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หลอกลวงผู้เสียหายเพื่อให้เงินแก่จำเลยและได้รับไปแล้ว จำนวน ๓,๕๐๐ บาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
พยานจำเลยซึ่งนำสืบต่อสู้ในทำนองจำเลยเพียงแต่มีเจตนาช่วยเหลือผู้เสียหายนั้นขัดแย้งต่อเหตุผลและผิดวิสัยที่คนซึ่งไม่เคยรู้จักกันมาก่อนจะกล้าสอดเข้าไปเป็นตัวกลางระหว่างคนร้ายกับผู้เสียหายในการเรียกร้องค่าไถ่รถยนต์กระบะดังกล่าวเพราะรังแต่จะเสี่ยงต่อการถูกกล่าวหาว่าร่วมกระทำผิดกับคนร้ายที่ลักรถยนต์กระบะของผู้เสียหายไป พยานจำเลยจึงไม่มีน้ำหนักรับฟังหักล้างพยานโจทก์
วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2557
เจตนารับของโจร
คำพิพากษาศาลฏีกาที่ ๔๑๕๔/๒๕๕๔
ป.อ. ลักทรัพย์หรือรับของโจร
ความผิดฐานรับของโจรโดยรับซื้อหนังสือเก่าไว้นั้น สาระสำคัญของความผิดอยู่ที่จำเลยรู้หรือไม่ว่าหนังสือที่รับซื้อไว้เป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ โดยต้องพิจารณาจากพฤติการณ์ของจำเลย สภาพของหนังสือและราคาซื้อขาย ประกอบกัน ซึ่งเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบรายละเอียดของหนังสือแต่ละเล่มว่า มีขนาด ราคา หรือความเก่า หรือใหม่ แตกต่างกันเพื่อเปรียบเทียบว่าหนังสือแต่ละเล่มจำเลยรับซื้อในราคาต่ำกว่าราคาจริงเท่าใด จะนำราคาเฉลี่ยมาพิสูจน์การรับรู้เพื่อลงโทษจำเลยหาได้ไม่
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๓๘๓/๒๕๕๓
ป.อ. รับของโจร (มาตรา ๓๕๗)
ป.วิ.อ. บรรยายฟ้อง (มาตรา ๑๙๒)
สำเนารายงานประจําวันรับแจ้งเป็นหลักฐาน ซึ่งระบุว่านาง ส. ไปแจ้งความต่อร้อยตำรวจเอก พ. ว่านาย บ.ขับรถแท็กซี่ของกลางไปและยังไม่ได้นํามาคืนกับยังไม่ได้จ่ายค่าเช่า แสดงว่านาง ส. รับว่าได้มอบรถแท็กซี่ของกลางให้แก่นาย บ. เช่าขับ อันเป็นการมอบการครอบครองรถแท็กซี่ของกลางให้แก่นาย บ.เช่าขับ อันเป็นการมอบการครอบครองรถแท็กซี่ของกลางให้แก่นาย บ. มิใช่นาย บ.เอารถแท็กซี่ของกลางไปจากความครอบครองของนาง ส. โดยทุจริต พฤติการณ์ที่นาย บ. กับพวกไม่นํารถแท็กซี่ของกลางไปคืนนาง ส. และต่อมานาย ม. นํารถแท็กซี่ของกลางไปให้จําเลยที่ ๒ ซ่อมสีใหม่โดยเปลี่ยนเป็นสีแดงเพื่อใช้เป็นรถยนต์บุคคลและเสนอขายเมื่อมีผู้สนใจขอซื้อ ถือได้ว่านาย บ. กับพวกมีเจตนาเบียดบังรถแท็กซี่ของกลางของผู้เสียหายไปโดยทุจริตอันเป็นความผิดฐานยักยอก
รถยนต์แท็กซี่ของกลางก่อนนํามาซ่อมสี มีเครื่องหมายและชื่อสหกรณ์แท็กซี่ ร. ซึ่งเป็นชื่อของผู้เสียหายปรากฏอยู่ แสดงว่าเป็นรถแท็กซี่อยู่ในสังกัดของผู้เสียหาย และมิใช่รถแท็กซี่ส่วนบุคคล เมื่อมีบุคคลอื่นนํารถของกลางมาให้ซ่อมเปลี่ยนเป็นสีแดงเพื่อใช้เป็นรถยนต์ส่วนบุคคลและเสนอขาย เมื่อมีผู้สนใจจะซื้อ จําเลยมีอาชีพเกี่ยวข้องกับการซ่อมรถและซ่อมสีรถยนต์ ย่อมทราบดีว่ารถแท็กซี่ของกลางมีราคาประมาณเท่าใดและไม่อาจขายโดยไม่มีสมุดคู่มือจดทะเบียนรถ เมื่อจําเลยขายรถของกลางต่ำกว่าราคาที่แท้จริง โดยไม่มีสมุดคู่มือจดทะเบียนรถย่อมเป็นการผิดวิสัยของบุคคลทั่วไป ฟังได้ว่าจำเลยรับไว้และช่วยจําหน่ายรถแท็กซี่ของกลางโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยการกระทำผิดฐานยักยอก ความผิดฐานรับของโจร แม้ฟ้องโจทก์จะบรรยายเพียงว่า จําเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทําความผิดฐานลักทรัพย์ โดยมิได้บรรยายถึงความผิดฐานยักยอกด้วย แม้ข้อเท็จจริงได้ความจากทางพิจารณาว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยการกระทําความผิดฐานยักยอกแตกต่างจากข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ก็มิใช่ข้อสาระสําคัญ ทั้งจําเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ และไม่ถือว่าข้อพิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคําขอหรือเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากการพิจารณาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๓๙๕/๒๕๓๔
ป.วิ.อ. มาตรา ๑๕๘ (๕)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้กระทำความผิดฐานรับของโจรรถยนต์กระบะของโจทก์ร่วม เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๒๘ โดยรถยนต์กระบะดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่ ย. ยักยอกจากโจทก์ร่วมโดยทุจริตเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๓๐ เป็นการฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยได้กระทำความผิดฐานรับของโจรรถยนต์กระบะของโจทก์ร่วม ก่อนที่รถยนต์กระบะนั้นถูก ย. ยักยอกเอาไป การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานรับของโจร
ป.อ. ลักทรัพย์หรือรับของโจร
ความผิดฐานรับของโจรโดยรับซื้อหนังสือเก่าไว้นั้น สาระสำคัญของความผิดอยู่ที่จำเลยรู้หรือไม่ว่าหนังสือที่รับซื้อไว้เป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ โดยต้องพิจารณาจากพฤติการณ์ของจำเลย สภาพของหนังสือและราคาซื้อขาย ประกอบกัน ซึ่งเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบรายละเอียดของหนังสือแต่ละเล่มว่า มีขนาด ราคา หรือความเก่า หรือใหม่ แตกต่างกันเพื่อเปรียบเทียบว่าหนังสือแต่ละเล่มจำเลยรับซื้อในราคาต่ำกว่าราคาจริงเท่าใด จะนำราคาเฉลี่ยมาพิสูจน์การรับรู้เพื่อลงโทษจำเลยหาได้ไม่
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๓๘๓/๒๕๕๓
ป.อ. รับของโจร (มาตรา ๓๕๗)
ป.วิ.อ. บรรยายฟ้อง (มาตรา ๑๙๒)
สำเนารายงานประจําวันรับแจ้งเป็นหลักฐาน ซึ่งระบุว่านาง ส. ไปแจ้งความต่อร้อยตำรวจเอก พ. ว่านาย บ.ขับรถแท็กซี่ของกลางไปและยังไม่ได้นํามาคืนกับยังไม่ได้จ่ายค่าเช่า แสดงว่านาง ส. รับว่าได้มอบรถแท็กซี่ของกลางให้แก่นาย บ. เช่าขับ อันเป็นการมอบการครอบครองรถแท็กซี่ของกลางให้แก่นาย บ.เช่าขับ อันเป็นการมอบการครอบครองรถแท็กซี่ของกลางให้แก่นาย บ. มิใช่นาย บ.เอารถแท็กซี่ของกลางไปจากความครอบครองของนาง ส. โดยทุจริต พฤติการณ์ที่นาย บ. กับพวกไม่นํารถแท็กซี่ของกลางไปคืนนาง ส. และต่อมานาย ม. นํารถแท็กซี่ของกลางไปให้จําเลยที่ ๒ ซ่อมสีใหม่โดยเปลี่ยนเป็นสีแดงเพื่อใช้เป็นรถยนต์บุคคลและเสนอขายเมื่อมีผู้สนใจขอซื้อ ถือได้ว่านาย บ. กับพวกมีเจตนาเบียดบังรถแท็กซี่ของกลางของผู้เสียหายไปโดยทุจริตอันเป็นความผิดฐานยักยอก
รถยนต์แท็กซี่ของกลางก่อนนํามาซ่อมสี มีเครื่องหมายและชื่อสหกรณ์แท็กซี่ ร. ซึ่งเป็นชื่อของผู้เสียหายปรากฏอยู่ แสดงว่าเป็นรถแท็กซี่อยู่ในสังกัดของผู้เสียหาย และมิใช่รถแท็กซี่ส่วนบุคคล เมื่อมีบุคคลอื่นนํารถของกลางมาให้ซ่อมเปลี่ยนเป็นสีแดงเพื่อใช้เป็นรถยนต์ส่วนบุคคลและเสนอขาย เมื่อมีผู้สนใจจะซื้อ จําเลยมีอาชีพเกี่ยวข้องกับการซ่อมรถและซ่อมสีรถยนต์ ย่อมทราบดีว่ารถแท็กซี่ของกลางมีราคาประมาณเท่าใดและไม่อาจขายโดยไม่มีสมุดคู่มือจดทะเบียนรถ เมื่อจําเลยขายรถของกลางต่ำกว่าราคาที่แท้จริง โดยไม่มีสมุดคู่มือจดทะเบียนรถย่อมเป็นการผิดวิสัยของบุคคลทั่วไป ฟังได้ว่าจำเลยรับไว้และช่วยจําหน่ายรถแท็กซี่ของกลางโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยการกระทำผิดฐานยักยอก ความผิดฐานรับของโจร แม้ฟ้องโจทก์จะบรรยายเพียงว่า จําเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทําความผิดฐานลักทรัพย์ โดยมิได้บรรยายถึงความผิดฐานยักยอกด้วย แม้ข้อเท็จจริงได้ความจากทางพิจารณาว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยการกระทําความผิดฐานยักยอกแตกต่างจากข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ก็มิใช่ข้อสาระสําคัญ ทั้งจําเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ และไม่ถือว่าข้อพิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคําขอหรือเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากการพิจารณาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๓๙๕/๒๕๓๔
ป.วิ.อ. มาตรา ๑๕๘ (๕)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้กระทำความผิดฐานรับของโจรรถยนต์กระบะของโจทก์ร่วม เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๒๘ โดยรถยนต์กระบะดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่ ย. ยักยอกจากโจทก์ร่วมโดยทุจริตเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๓๐ เป็นการฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยได้กระทำความผิดฐานรับของโจรรถยนต์กระบะของโจทก์ร่วม ก่อนที่รถยนต์กระบะนั้นถูก ย. ยักยอกเอาไป การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานรับของโจร
ชิงทรัพย์
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 8790/2554
ป.อ. ชิงทรัพย์ (มาตรา 339)
ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืน ที่เกิดเหตุเป็นสี่แยก ขณะนั้นไม่มีรถสัญจรผ่านไปมา ผู้เสียหายไม่รู้จักจําเลยกับพวกมาก่อน การที่พวกจําเลยขับรถแซงและปาดหน้ารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายเพื่อให้ผู้เสียหายหยุดรถทันทีและตะคอกด่าพร้อมกับพูดว่ามีอะไรส่งมาให้หมด โดยจําเลยกับพวกแสดงสีหน้าขึงขังเช่นนี้ แม้พวกจําเลยจะไม่ได้พูดว่าหากไม่ส่งสิ่งของให้จะทำร้ายผู้เสียหาย แต่พฤติการณ์ของจําเลยกับพวกดังกล่าวเป็นการคุกคามผู้เสียหายให้กลัวว่าจะถูกทำร้ายหากไม่ส่งทรัพย์สินให้ จึงเป็นการขู่เข็ญผู้เสียหายทั้งกิริยาและวาจาโดยมีความหมายว่า ถ้าผู้เสียหายไม่ให้สิ่งของใดแล้วผู้เสียหายจะถูกทําร้าย จนผู้เสียหายกลัวต้องรีบส่งกระเป๋าสะพายให้จําเลย หาใช่เรื่องที่ผู้เสียหายรู้สึกกลัวไปเองไม่
การกระทําดังกล่าวจึงเป็นการขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กําลังประทุษร้ายเพื่อให้ผู้เสียหายยื่นให้ซึ่งทรัพย์อันเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ มิใช่ความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ เมื่อขณะเกิดเหตุจําเลยยังคงนั่งอยู่บนรถจักรยานยนต์คันเดียวกันกับพวกและแม้จำเลยจะไม่ได้พูดกับผู้เสียหาย แต่เมื่อผู้เสียหายยื่นทรัพย์ให้จําเลยก็รับไว้ แล้วจําเลยกับพวกก็ขับรถจักรยานยนต์หนีไปด้วยกันทันที ถือเป็นการแบ่งหน้าที่กันทําอันเป็นการร่วมกันกระทำความผิดแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3523/2554
ป.อ. ชิงทรัพย์ (มาตรา 339)
แม้ขณะที่จำเลยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไป จำเลยไม่ได้พูดหรือทำกิริยาอาการอย่างใดที่ขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือได้ใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหาย แต่หลังจากจำเลยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายแล้ว ขณะที่จะหลบหนี ผู้เสียหายคว้าคอเสื้อของจำเลยไว้ จำเลยดิ้นรนขัดขืนแล้วใช้แขนเหวี่ยงถูกผู้เสียหายเซไป จำเลยกระทำโดยมีเจตนาขู่เข็ญไม่ให้ผู้เสียหายขัดขวางการพาทรัพย์ไปและหลบหนี การกระทำของจำเลยดังกล่าวยังต่อเนื่องเกี่ยวพันกันโดยตลอดและยังไม่ขาดตอนจากการเอาทรัพย์ของผู้เสียหายโดยทุจริต เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
ป.อ. ชิงทรัพย์ (มาตรา 339)
ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืน ที่เกิดเหตุเป็นสี่แยก ขณะนั้นไม่มีรถสัญจรผ่านไปมา ผู้เสียหายไม่รู้จักจําเลยกับพวกมาก่อน การที่พวกจําเลยขับรถแซงและปาดหน้ารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายเพื่อให้ผู้เสียหายหยุดรถทันทีและตะคอกด่าพร้อมกับพูดว่ามีอะไรส่งมาให้หมด โดยจําเลยกับพวกแสดงสีหน้าขึงขังเช่นนี้ แม้พวกจําเลยจะไม่ได้พูดว่าหากไม่ส่งสิ่งของให้จะทำร้ายผู้เสียหาย แต่พฤติการณ์ของจําเลยกับพวกดังกล่าวเป็นการคุกคามผู้เสียหายให้กลัวว่าจะถูกทำร้ายหากไม่ส่งทรัพย์สินให้ จึงเป็นการขู่เข็ญผู้เสียหายทั้งกิริยาและวาจาโดยมีความหมายว่า ถ้าผู้เสียหายไม่ให้สิ่งของใดแล้วผู้เสียหายจะถูกทําร้าย จนผู้เสียหายกลัวต้องรีบส่งกระเป๋าสะพายให้จําเลย หาใช่เรื่องที่ผู้เสียหายรู้สึกกลัวไปเองไม่
การกระทําดังกล่าวจึงเป็นการขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กําลังประทุษร้ายเพื่อให้ผู้เสียหายยื่นให้ซึ่งทรัพย์อันเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ มิใช่ความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ เมื่อขณะเกิดเหตุจําเลยยังคงนั่งอยู่บนรถจักรยานยนต์คันเดียวกันกับพวกและแม้จำเลยจะไม่ได้พูดกับผู้เสียหาย แต่เมื่อผู้เสียหายยื่นทรัพย์ให้จําเลยก็รับไว้ แล้วจําเลยกับพวกก็ขับรถจักรยานยนต์หนีไปด้วยกันทันที ถือเป็นการแบ่งหน้าที่กันทําอันเป็นการร่วมกันกระทำความผิดแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3523/2554
ป.อ. ชิงทรัพย์ (มาตรา 339)
แม้ขณะที่จำเลยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไป จำเลยไม่ได้พูดหรือทำกิริยาอาการอย่างใดที่ขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือได้ใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหาย แต่หลังจากจำเลยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายแล้ว ขณะที่จะหลบหนี ผู้เสียหายคว้าคอเสื้อของจำเลยไว้ จำเลยดิ้นรนขัดขืนแล้วใช้แขนเหวี่ยงถูกผู้เสียหายเซไป จำเลยกระทำโดยมีเจตนาขู่เข็ญไม่ให้ผู้เสียหายขัดขวางการพาทรัพย์ไปและหลบหนี การกระทำของจำเลยดังกล่าวยังต่อเนื่องเกี่ยวพันกันโดยตลอดและยังไม่ขาดตอนจากการเอาทรัพย์ของผู้เสียหายโดยทุจริต เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
แก๊งคอลเซ็นเตอร์ (รับจ้างเปิดบัญชี)
แก๊งคอลเซ็นเตอร์ (Call center) เป็นอาชญากรรมระดับชาติ เพราะก่ออาชญากรรมข้ามชาติอย่างน้อยสองประเทศขึ้นไป และมีการแบ่งหน้าที่กันทำหน้าที่ต่างๆ เช่น นายทุน ผู้จัดการ พนักงานคอลเซ็นเตอร์ ผู้นำเงินออกจากบัญชี ผู้รับจ้างเปิดบัญชี และผู้รวบรวมเงิน เป็นต้น โดยจะมีผู้ทำหน้าที่เสาะหาคนไทยจำพวกนักศึกษา สาวโรงงาน ลูกจ้างตามสถานบริการ หรือประชาชนในชนบทที่ห่างไกลให้เปิดบัญชีธนาคาร แล้วก็ขายสมุดเงินฝาก สมุดเอทีเอ็ม บัตรเอทีเอ็ม ให้กับกลุ่มคนร้ายนี้ เพื่อเอาไว้เป็นบัญชีสำหรับรับเงินที่โอนมาจากผู้เสียหายหรือรับโอนเงินได้มาจากการกระทำความผิด
วิธีหลอกลวง ทำได้หลายวิธีเช่น เรื่องให้ไปกดตู้เอทีเอ็มเพื่อรับเงินคืนภาษี เรื่องแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร แจ้งว่า ผู้เสียหายมีปัญหาเรื่องหนี้บัตรเครดิตต้องระงับการกระทำทางธุรกรรมทางการเงินในบัญชีธนาคาร และแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่จากสำนักงาน ปปง. หลอกลวงยัดเยียดข้อหาว่าจะยึดทรัพย์ผู้เสียหายและดำเนินคดีฐานฟอกเงินเพราะบัญชีธนาคารเข้าไปเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ายาเสพติดทางภาคเหนือ เป็นต้น
ผู้ถูกหลอกลวงจะมีจุดอ่อน คือ เป็นผู้ที่มีประสบการณ์และการรับฟังข้อมูลข่าวสารมาน้อย มีความโลภ ความหลง ความกลัว และมองคนในแง่ดีเกินไปเชื่อว่าคนส่วนใหญ่พูดความจริงแม้ว่ามองไม่เห็นตัวตนที่แท้จริงของผู้ที่โทรศัพท์คุยด้วยก็ตาม ลักษณะเช่นนี้จะเอื้ออำนวยให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้โดยง่าย ส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุและข้าราชการวัยเกษียณ ซึ่งจะมีเงินเก็บก้อนใหญ่และต้องการความมั่นคงหลังจากเกษียนอายุราชการ ไม่อยากมีปัญหาเรื่องคดีความและจะค่อนข้างโดดเดี่ยวไม่มีญาติสนิทให้คำปรึกษาได้ทันท่วงที
คนร้ายจะโทรศัพท์มาหาแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ พูดกับผู้เสียหายโดยใช้จิตวิทยาและเล่ห์เหลี่ยมโดยอาศัยจุดอ่อนดังกล่าว ทำทีแนะนำว่าจะช่วยเหลือไม่ให้เงินถูกอายัดหรือถูกดำเนินคดี ด้วยวิธีการโอนเงินในบัญชีของผู้เสียหายไปยังบัญชีธนาคารแห่งประเทศไทย โดยโอนผ่านตู้เอทีเอ็มพร้อมทั้งบอกให้กดรหัสต่างๆ เปลี่ยนเมนูเป็นภาษาอังกฤษ คนร้ายอ้างว่าต้องตรวจสอบว่าเงินของผู้เสียหายไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ค้ายาเสพติดที่ถูกจับกุม แต่ความจริงแล้ว เป็นการที่ผู้เสียหายทำธุรกรรมโอนเงินจากบัญชีตนเองไปเข้าบัญชีที่คนร้ายว่าจ้างให้คนเปิดบัญชีไว้แล้ว การโอนเงินเข้าบัญชีอาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น โอนเงินผ่านระบบอีแบงค์กิ้ง (E-Banking) หรือโอนที่พนักงานเคาท์เตอร์ธนาคาร โดยคนร้ายจะขู่ให้เปิดโทรศัพท์ตลอดเวลาและไม่ยอมให้ผู้เสียหายพูดคุยกับพนักงานธนาคารหรือคนอื่นๆ กรณีที่ผู้เสียหายไม่มีบัตรเอทีเอ็ม ก็จะให้ใช้วิธีถอนเงินสดจากบัญชีมาโดยหลอกลวงว่าเพื่อทำการตรวจนับหมายเลขธนบัตรผ่านเครื่องรับฝากเงินอัตโนมัติ หรือตู้ CDM หรือ ADM เครื่องจะทำการตรวจนับครั้งละไม่เกิน 100,000 บาท แท้จริงแล้วเครื่องจะรับฝากไม่เกินครั้งละ 100,000 บาท แล้วเอาบัตรเอทีเอ็มของผู้เปิดบัญชีไปกดเอาเงินออกจากบัญชีที่ต่างประเทศ เช่น ไต้หวัน จีน เป็นต้น
การดำเนินคดี เจ้าพนักงานจะดำเนินการอายัดบัญชีของคนร้ายทั้งหมด แต่คนร้ายจะรีบถอนเงินออกจากบัญชีทันทีที่ผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินมาให้ จนเงินแทบไม่เหลือในบัญชี นอกจากนี้ จะดำเนินการตรวจสอบเส้นทางการเงินและดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการทั้งหมด
การรับจ้างเปิดบัญชีเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่นเพื่อใช้ในการกระทำผิดนี้เข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดทางอาญาในฐานะเป็นตัวการร่วมหรือผู้สนับสนุนการกระทำความผิดหรือฟอกเงิน ผู้ต้องหารับจ้างเปิดบัญชีรายหนึ่งให้การรับว่า มีคนรู้จักแนะนำให้ไปเปิดบัญชีธนาคารแห่งหนึ่งโดยจะได้ค่าเปิดบัญชี 500 บาท ซึ่งตอนนั้นอายุประมาณ 17 ปี และเสพยาบ้าด้วย ไม่มีเงินเสพยา จึงตัดสินใจรับจ้างไปเปิดบัญชีโดยไม่คิดว่าจะเป็นเรื่องใหญ่ โดยไปรับจ้างเปิดไว้ 2 บัญชี ไม่ทราบว่าผู้ให้ไปเปิดบัญชี้นั้นเอาไปทำอะไร ส่วนผู้ต้องหาที่รับโอนเงินรายหนึ่งให้การรับว่า ได้รับว่าจ้างครั้งละหนึ่งหมื่นบาทให้หาคนมาเปิดบัญชีธนาคารและเก็บบัตรเอทีเอ็ม และให้ตนเป็นคนโอนเงินเข้าบัญชีของคนร้ายอีกคนหนึ่ง ซึ่งบัตรเอทีเอ็มกับสมุดบัญชีนี้จะใช้ในการหลอกลวงเอาเงินผู้อื่นอีกหลายคน
การหลอกลวงของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ แม้จะมีข่าวสารเผยแพร่ให้ประชาชนได้เห็นอยู่ตามสื่อต่างๆ แต่ก็ยังมีประชาชนอีกมากที่ยังรู้ไม่เท่าทัน ถูกหลอกลวงจนต้องสูญเสียทรัพย์สินที่หาได้มาทั้งชีวิต บางรายหลงเชื่อถึงขั้นต้องไปกู้ยืมเงินมาโอนเข้าบัญชีของคนร้ายอีกด้วย จึงขอให้ผู้อ่านได้ช่วยประชาสัมพันธ์แก่มิตรสหายคนรอบข้าง หากพบเห็นพฤติกรรมไม่ชอบมาพากลว่ามีคนกำลังถูกหลอกลวงก็ให้ความช่วยเหลือตักเตือนป้องกันมิให้ต้องสูญเสียทรัพย์สินและรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมของกลุ่มมิจฉาชีพในทันที
(ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก วารสารยุติธรรม "คุยเฟื่องเรื่องกฎหมาย" ส่วนสื่อสารองค์กร สำนักงาน ปปง.)
วิธีหลอกลวง ทำได้หลายวิธีเช่น เรื่องให้ไปกดตู้เอทีเอ็มเพื่อรับเงินคืนภาษี เรื่องแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร แจ้งว่า ผู้เสียหายมีปัญหาเรื่องหนี้บัตรเครดิตต้องระงับการกระทำทางธุรกรรมทางการเงินในบัญชีธนาคาร และแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่จากสำนักงาน ปปง. หลอกลวงยัดเยียดข้อหาว่าจะยึดทรัพย์ผู้เสียหายและดำเนินคดีฐานฟอกเงินเพราะบัญชีธนาคารเข้าไปเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ายาเสพติดทางภาคเหนือ เป็นต้น
ผู้ถูกหลอกลวงจะมีจุดอ่อน คือ เป็นผู้ที่มีประสบการณ์และการรับฟังข้อมูลข่าวสารมาน้อย มีความโลภ ความหลง ความกลัว และมองคนในแง่ดีเกินไปเชื่อว่าคนส่วนใหญ่พูดความจริงแม้ว่ามองไม่เห็นตัวตนที่แท้จริงของผู้ที่โทรศัพท์คุยด้วยก็ตาม ลักษณะเช่นนี้จะเอื้ออำนวยให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้โดยง่าย ส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุและข้าราชการวัยเกษียณ ซึ่งจะมีเงินเก็บก้อนใหญ่และต้องการความมั่นคงหลังจากเกษียนอายุราชการ ไม่อยากมีปัญหาเรื่องคดีความและจะค่อนข้างโดดเดี่ยวไม่มีญาติสนิทให้คำปรึกษาได้ทันท่วงที
คนร้ายจะโทรศัพท์มาหาแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ พูดกับผู้เสียหายโดยใช้จิตวิทยาและเล่ห์เหลี่ยมโดยอาศัยจุดอ่อนดังกล่าว ทำทีแนะนำว่าจะช่วยเหลือไม่ให้เงินถูกอายัดหรือถูกดำเนินคดี ด้วยวิธีการโอนเงินในบัญชีของผู้เสียหายไปยังบัญชีธนาคารแห่งประเทศไทย โดยโอนผ่านตู้เอทีเอ็มพร้อมทั้งบอกให้กดรหัสต่างๆ เปลี่ยนเมนูเป็นภาษาอังกฤษ คนร้ายอ้างว่าต้องตรวจสอบว่าเงินของผู้เสียหายไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ค้ายาเสพติดที่ถูกจับกุม แต่ความจริงแล้ว เป็นการที่ผู้เสียหายทำธุรกรรมโอนเงินจากบัญชีตนเองไปเข้าบัญชีที่คนร้ายว่าจ้างให้คนเปิดบัญชีไว้แล้ว การโอนเงินเข้าบัญชีอาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น โอนเงินผ่านระบบอีแบงค์กิ้ง (E-Banking) หรือโอนที่พนักงานเคาท์เตอร์ธนาคาร โดยคนร้ายจะขู่ให้เปิดโทรศัพท์ตลอดเวลาและไม่ยอมให้ผู้เสียหายพูดคุยกับพนักงานธนาคารหรือคนอื่นๆ กรณีที่ผู้เสียหายไม่มีบัตรเอทีเอ็ม ก็จะให้ใช้วิธีถอนเงินสดจากบัญชีมาโดยหลอกลวงว่าเพื่อทำการตรวจนับหมายเลขธนบัตรผ่านเครื่องรับฝากเงินอัตโนมัติ หรือตู้ CDM หรือ ADM เครื่องจะทำการตรวจนับครั้งละไม่เกิน 100,000 บาท แท้จริงแล้วเครื่องจะรับฝากไม่เกินครั้งละ 100,000 บาท แล้วเอาบัตรเอทีเอ็มของผู้เปิดบัญชีไปกดเอาเงินออกจากบัญชีที่ต่างประเทศ เช่น ไต้หวัน จีน เป็นต้น
การดำเนินคดี เจ้าพนักงานจะดำเนินการอายัดบัญชีของคนร้ายทั้งหมด แต่คนร้ายจะรีบถอนเงินออกจากบัญชีทันทีที่ผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินมาให้ จนเงินแทบไม่เหลือในบัญชี นอกจากนี้ จะดำเนินการตรวจสอบเส้นทางการเงินและดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการทั้งหมด
การรับจ้างเปิดบัญชีเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่นเพื่อใช้ในการกระทำผิดนี้เข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดทางอาญาในฐานะเป็นตัวการร่วมหรือผู้สนับสนุนการกระทำความผิดหรือฟอกเงิน ผู้ต้องหารับจ้างเปิดบัญชีรายหนึ่งให้การรับว่า มีคนรู้จักแนะนำให้ไปเปิดบัญชีธนาคารแห่งหนึ่งโดยจะได้ค่าเปิดบัญชี 500 บาท ซึ่งตอนนั้นอายุประมาณ 17 ปี และเสพยาบ้าด้วย ไม่มีเงินเสพยา จึงตัดสินใจรับจ้างไปเปิดบัญชีโดยไม่คิดว่าจะเป็นเรื่องใหญ่ โดยไปรับจ้างเปิดไว้ 2 บัญชี ไม่ทราบว่าผู้ให้ไปเปิดบัญชี้นั้นเอาไปทำอะไร ส่วนผู้ต้องหาที่รับโอนเงินรายหนึ่งให้การรับว่า ได้รับว่าจ้างครั้งละหนึ่งหมื่นบาทให้หาคนมาเปิดบัญชีธนาคารและเก็บบัตรเอทีเอ็ม และให้ตนเป็นคนโอนเงินเข้าบัญชีของคนร้ายอีกคนหนึ่ง ซึ่งบัตรเอทีเอ็มกับสมุดบัญชีนี้จะใช้ในการหลอกลวงเอาเงินผู้อื่นอีกหลายคน
การหลอกลวงของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ แม้จะมีข่าวสารเผยแพร่ให้ประชาชนได้เห็นอยู่ตามสื่อต่างๆ แต่ก็ยังมีประชาชนอีกมากที่ยังรู้ไม่เท่าทัน ถูกหลอกลวงจนต้องสูญเสียทรัพย์สินที่หาได้มาทั้งชีวิต บางรายหลงเชื่อถึงขั้นต้องไปกู้ยืมเงินมาโอนเข้าบัญชีของคนร้ายอีกด้วย จึงขอให้ผู้อ่านได้ช่วยประชาสัมพันธ์แก่มิตรสหายคนรอบข้าง หากพบเห็นพฤติกรรมไม่ชอบมาพากลว่ามีคนกำลังถูกหลอกลวงก็ให้ความช่วยเหลือตักเตือนป้องกันมิให้ต้องสูญเสียทรัพย์สินและรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมของกลุ่มมิจฉาชีพในทันที
(ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก วารสารยุติธรรม "คุยเฟื่องเรื่องกฎหมาย" ส่วนสื่อสารองค์กร สำนักงาน ปปง.)
บุกรุกพยายามลักทรัพย์
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 4938/2554
ป.อ. บุกรุก ลักทรัพย์ พยายาม (มาตรา 335, 336 ทวิ, 362, 365)
การที่จําเลยที่ ๑ และที่ ๒ กับพวกนํารถบรรทุกของกลางเข้าไปจอดในบริเวณโรงงานที่เกิดเหตุซึ่งล้อมรั้วสังกะสีไว้ในยามวิกาล แล้วจําเลยที่ ๒ ใช้ไฟฉายส่องไปที่มอเตอร์ซึ่งติดตั้งอยู่บนโครงเหล็กเป็นการสํารวจทรัพย์ที่จะลักและเพื่อจะขนทรัพย์นั้นไปไว้บนรถบรรรทุกของกลาง แม้จำเลยที่ ๒ ยังไม่ได้แตะต้องตัวทรัพย์ แต่นับว่าใกล้ชิดพร้อมที่จะเอาทรัพย์ไปได้ในทันที การกระทำของจำเลยทั้งสองกับพวกอยู่ในขั้นลงมือกระทําความผิดแล้ว เพียงแต่กระทําไปไม่ตลอด จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกและพยายามลักทรัพย์
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 10381/2553
ป.อ. ชิงทรัพย์ พยายาม (มาตรา 339, 80, 83)
พฤติการณ์ที่จําเลยกับพวกจอดรถจักรยานยนต์ของกลางไว้บริเวณใกล้เคียงบ้านของผู้เสียหายแล้วพากันเดินไปที่สุ่มไก่ของผู้เสียหายซึ่งอยู่บริเวณบ้านที่อยู่อาศัยอันเป็นเคหสถานของผู้เสียหายในยามวิกาล แสดงให้เห็นว่าจําเลยกับพวกมีเจตนาจะร่วมกันลักเอาไก่ของผู้เสียหายไป เป็นการลงมือกระทําความผิดแล้ว แต่การยึดถือเอาไก่ไปนั้นยังไม่บรรลุผลอยู่ในขั้นร่วมกันพยายามลักทรัพย์ เมื่อผู้เสียหายออกมาขัดขวางจึงเกิดการทําร้ายซึ่งกันและกัน
เมื่อจำเลยพยายามลักทรัพย์โดยใช้กําลังประทุษร้าย ชกต่อย และใช้แผ่นเหล็กตีทําร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายเพื่อให้พ้นจากการจับกุม โดยใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะเพื่อกระทำความผิดและพาทรัพย์นั้นไป จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันพยายามชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจโดยใช้ยานพาหนะเพื่อการกระทำความผิดหรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นจากการจับกุม
หาจําเป็นต้องถึงขั้นที่จําเลยกับพวกเปิดสุ่มไก่ จับไก่ หรืออุ้มไก่ จึงจะเป็นความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์ตามที่จําเลยฎีกาไม่ ทั้งการกระทําของจําเลยกับพวกดังกล่าวเป็นความผิดซึ่งหน้า ซึ่งผู้เสียหายกับพวกมีสิทธิจับกุมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 79 และ 80
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10854/2553
ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5), 208 (2), 225
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันบุกรุกเข้าไปในห้องของโรงแรมที่เกิดภัยพิบัติ เพื่อลักทรัพย์สินของโรงแรมและนักท่องเที่ยวที่เก็บรักษาไว้ในห้องพัก จำเลยทั้งสองลงมือกระทำความผิดแล้วแต่กระทำไปไม่ตลอด เพราะมีผู้พบเห็นและเข้าขัดขวาง ถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายครบถ้วนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว เพียงแต่ไม่ได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์ที่จำเลยทั้งสองพยายามลักเท่านั้น เพราะลักษณะของความผิดย่อมยังไม่อาจทราบได้ว่าเป็นทรัพย์อะไรมีมูลค่าเท่าใด
แต่เมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้วย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันพยายามลักทรัพย์ของผู้อื่น ฟ้องโจทก์จึงระบุข้อเท็จจริงรายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลและสิ่งของพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาได้ดีและต่อสู้คดีได้ หาจำต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่จำเลยทั้งสองพยายามลักดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยไม่ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2534
ป.อ. มาตรา 335 (1) , 335 (8) , 364, 365 (3)
ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า จำเลยลักทรัพย์ของผู้เสียหายในเคหสถานในเวลากลางคืนโดยเข้าทางช่องทางซึ่งทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (1) (4) (8) การเข้าไปในเคหสถานโดยไม่ได้รับอนุญาตถือได้ว่าเป็นการเข้าไปในเคหสถานโดยไม่มีเหตุอันสมควรนั่นเอง ความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถานจึงเป็นความผิดที่รวมการกระทำผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 364 อยู่ด้วยในตัว
แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ในเคหสถานในเวลากลางคืน แต่เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำผิดฐานบุกรุกในเวลากลางคืน จึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุกในเวลากลางคืน ดังนั้น ศาลลงโทษจำเลยฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (3) ประกอบมาตรา 364 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย
ป.อ. บุกรุก ลักทรัพย์ พยายาม (มาตรา 335, 336 ทวิ, 362, 365)
การที่จําเลยที่ ๑ และที่ ๒ กับพวกนํารถบรรทุกของกลางเข้าไปจอดในบริเวณโรงงานที่เกิดเหตุซึ่งล้อมรั้วสังกะสีไว้ในยามวิกาล แล้วจําเลยที่ ๒ ใช้ไฟฉายส่องไปที่มอเตอร์ซึ่งติดตั้งอยู่บนโครงเหล็กเป็นการสํารวจทรัพย์ที่จะลักและเพื่อจะขนทรัพย์นั้นไปไว้บนรถบรรรทุกของกลาง แม้จำเลยที่ ๒ ยังไม่ได้แตะต้องตัวทรัพย์ แต่นับว่าใกล้ชิดพร้อมที่จะเอาทรัพย์ไปได้ในทันที การกระทำของจำเลยทั้งสองกับพวกอยู่ในขั้นลงมือกระทําความผิดแล้ว เพียงแต่กระทําไปไม่ตลอด จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกและพยายามลักทรัพย์
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 10381/2553
ป.อ. ชิงทรัพย์ พยายาม (มาตรา 339, 80, 83)
พฤติการณ์ที่จําเลยกับพวกจอดรถจักรยานยนต์ของกลางไว้บริเวณใกล้เคียงบ้านของผู้เสียหายแล้วพากันเดินไปที่สุ่มไก่ของผู้เสียหายซึ่งอยู่บริเวณบ้านที่อยู่อาศัยอันเป็นเคหสถานของผู้เสียหายในยามวิกาล แสดงให้เห็นว่าจําเลยกับพวกมีเจตนาจะร่วมกันลักเอาไก่ของผู้เสียหายไป เป็นการลงมือกระทําความผิดแล้ว แต่การยึดถือเอาไก่ไปนั้นยังไม่บรรลุผลอยู่ในขั้นร่วมกันพยายามลักทรัพย์ เมื่อผู้เสียหายออกมาขัดขวางจึงเกิดการทําร้ายซึ่งกันและกัน
เมื่อจำเลยพยายามลักทรัพย์โดยใช้กําลังประทุษร้าย ชกต่อย และใช้แผ่นเหล็กตีทําร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายเพื่อให้พ้นจากการจับกุม โดยใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะเพื่อกระทำความผิดและพาทรัพย์นั้นไป จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันพยายามชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจโดยใช้ยานพาหนะเพื่อการกระทำความผิดหรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นจากการจับกุม
หาจําเป็นต้องถึงขั้นที่จําเลยกับพวกเปิดสุ่มไก่ จับไก่ หรืออุ้มไก่ จึงจะเป็นความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์ตามที่จําเลยฎีกาไม่ ทั้งการกระทําของจําเลยกับพวกดังกล่าวเป็นความผิดซึ่งหน้า ซึ่งผู้เสียหายกับพวกมีสิทธิจับกุมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 79 และ 80
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10854/2553
ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5), 208 (2), 225
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันบุกรุกเข้าไปในห้องของโรงแรมที่เกิดภัยพิบัติ เพื่อลักทรัพย์สินของโรงแรมและนักท่องเที่ยวที่เก็บรักษาไว้ในห้องพัก จำเลยทั้งสองลงมือกระทำความผิดแล้วแต่กระทำไปไม่ตลอด เพราะมีผู้พบเห็นและเข้าขัดขวาง ถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายครบถ้วนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว เพียงแต่ไม่ได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์ที่จำเลยทั้งสองพยายามลักเท่านั้น เพราะลักษณะของความผิดย่อมยังไม่อาจทราบได้ว่าเป็นทรัพย์อะไรมีมูลค่าเท่าใด
แต่เมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้วย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันพยายามลักทรัพย์ของผู้อื่น ฟ้องโจทก์จึงระบุข้อเท็จจริงรายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลและสิ่งของพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาได้ดีและต่อสู้คดีได้ หาจำต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่จำเลยทั้งสองพยายามลักดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยไม่ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2534
ป.อ. มาตรา 335 (1) , 335 (8) , 364, 365 (3)
ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า จำเลยลักทรัพย์ของผู้เสียหายในเคหสถานในเวลากลางคืนโดยเข้าทางช่องทางซึ่งทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (1) (4) (8) การเข้าไปในเคหสถานโดยไม่ได้รับอนุญาตถือได้ว่าเป็นการเข้าไปในเคหสถานโดยไม่มีเหตุอันสมควรนั่นเอง ความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถานจึงเป็นความผิดที่รวมการกระทำผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 364 อยู่ด้วยในตัว
แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ในเคหสถานในเวลากลางคืน แต่เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำผิดฐานบุกรุกในเวลากลางคืน จึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุกในเวลากลางคืน ดังนั้น ศาลลงโทษจำเลยฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (3) ประกอบมาตรา 364 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย
ลักรถยนต์ไม่ปรากฏรอยงัดแงะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3005/2543
ป.อ. มาตรา 335 (3)
แม้รถกระบะของผู้เสียหายไม่ปรากฏร่องรอยการถูกงัดแงะ ซึ่งฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ก็ตาม แต่การที่จำเลยเข้าไปในรถกระบะของผู้เสียหายโดยผ่านทางประตูรถเข้าไป ถือว่าเป็นการผ่านสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์เข้าไปด้วยประการใด ๆ ตามป.อ.มาตรา 335 (3) แล้ว
ป.อ. มาตรา 335 (3)
แม้รถกระบะของผู้เสียหายไม่ปรากฏร่องรอยการถูกงัดแงะ ซึ่งฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ก็ตาม แต่การที่จำเลยเข้าไปในรถกระบะของผู้เสียหายโดยผ่านทางประตูรถเข้าไป ถือว่าเป็นการผ่านสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์เข้าไปด้วยประการใด ๆ ตามป.อ.มาตรา 335 (3) แล้ว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)