คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3756 - 3757/2550
ป.อ. มาตรา 71 วรรคแรก, 335 (7), 336 ทวิ
คดีทั้งสองสำนวนนี้ศาลชั้นต้นสั่งให้รวมพิจารณาเข้าด้วยกัน โดยให้เรียกโจทก์ทั้งสองสำนวนว่า โจทก์ เรียกนางพัชรี โจทก์ร่วมทั้งสองสำนวนว่า โจทก์ร่วม เรียกจำเลยในสำนวนแรกว่า จำเลยที่ 1 และเรียกจำเลยในสำนวนหลังว่า จำเลยที่ 2
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 335, 336 ทวิ และให้จำเลยทั้งสองคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นเงิน 36,300 บาท แก่ผู้เสียหาย
จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ
ระหว่างพิจารณานางพัชรี ผู้เสียหาย ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ทั้งสองสำนวนศาลชั้นต้นอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (7) วรรคแรก มาตรา 336 ทวิ
โจทก์ร่วมทั้งสองสำนวนอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 เป็นสามีของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหาย จึงไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 71 วรรคแรก ให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ร่วมทั้งสองสำนวนฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายตั้งแต่ปี 2520 และขณะจำเลยที่ 1 กระทำความผิดยังไม่ได้จดทะเบียนหย่ากัน คดีนี้จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ซึ่งเป็นความผิดที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 71 วรรคแรก ที่บัญญัติว่าความผิดดังกล่าวถ้าเป็นการกระทำที่สามีกระทำต่อภริยาผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีของโจทก์ร่วมจึงไม่ต้องรับโทษในความผิดดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นจะระบุว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ มาด้วย แต่ตามมาตรา 336 ทวิ เป็นบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดอาญา มาตรา 335 ต้องระวางโทษหนักขึ้นกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ กึ่งหนึ่ง หาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากจากบทมาตราดังกล่าวไม่
การกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 เข้าหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 71 วรรคแรก แล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับโทษในความผิดดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ร่วมฟังไม่ขึ้น
ประมวลกฎหมายอาญา
"มาตรา 71 ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 334 ถึงมาตรา 336 วรรคแรก และมาตรา 341 ถึงมาตรา 364 นั้น ถ้าเป็นการกระทำที่สามีกระทำต่อภริยา หรือภริยากระทำต่อสามี ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ
ความผิดดังระบุมานี้ ถ้าเป็นการกระทำ ที่ผู้บุพการีกระทำ ต่อผู้สืบสันดาน ผู้สืบสันดานกระทำต่อผู้บุพการี หรือพี่หรือน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกระทำต่อกัน แม้กฎหมายมิได้บัญญัติให้เป็นความผิดอันยอมความได้ ก็ให้เป็นความผิดอันยอมความได้ และนอกจากนั้นศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้"
"มาตรา 335 ผู้ใดลักทรัพย์
(1) ...
(7) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป
.... "
"มาตรา 336 ทวิ ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 334 มาตรา 335 มาตรา 335 ทวิ หรือมาตรา 336 โดยแต่งเครื่องแบบทหารหรือตำรวจหรือแต่งกายให้เข้าใจว่าเป็นทหารหรือตำรวจ หรือโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ กึ่งหนึ่ง"
ข้อพิจารณา.-
- สามีภริยาต้องจดทะเบียนสมรสกันและไม่ได้จดทะเบียนหย่าแม้ว่าจะแยกกันอยู่ก็ตาม จึงจะเข้าหลักเกณฑ์ที่ไม่ต้องรับโทษ
- ผู้ที่ร่วมกระทำผิดซึ่งเป็นบุคคลอื่นต้องรับโทษนั้นโดยไม่ได้รับการยกเว้นโทษ แม้ว่าสามีหรือภริยาที่เป็นผู้ร่วมกระทำความผิดนั้นไม่ต้องรับโทษก็ตาม
- แม้ว่ามาตรา 71 วรรคแรก ไม่ได้บัญญัติมาตรา 336 ทวิ เอาไว้ด้วยก็ตาม แต่ถ้าหากเป็นกรณีกระทำความผิดตามมาตรา 336 ทวิ ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 335 (7) นั้นกึ่งหนึ่ง กฎหมายถือว่ามาตรา 336 ทวิ เป็นเพียงบทเพิ่มโทษมาตรา 335 หาใช่ความผิดอีกบทหนึ่งแยกต่างหากจากกัน ผู้กระทำความผิดจึงไม่ต้องรับโทษด้วยเหตุความเป็นสามีภริยากันตามมาตรา 71 วรรคแรก
- มาตรา 71 วรรคแรก บัญญัติให้ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ แต่ไม่ได้บัญญัติให้เป็นความผิดอันยอมความได้ ดั่งเช่นวรรคสอง ดังนั้น สามีหรือภริยาที่เป็นผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจขอถอนคำร้องทุกข์
✩ รวบรวมคำพิพากษาฎีกาความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ✩ความถูกต้องเป็นไปตามวันที่เขียนบทความและอัพเดท✩
วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2559
วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2559
โกงเจ้าหนี้
มาตรา ๓๔๙ ผู้ใดเอาไปเสีย ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์อันตนจำนำไว้แก่ผู้อื่น ถ้าได้กระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้รับจำนำ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๕๐ ผู้ใดเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดก็ดี แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริงก็ดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๕๑ ความผิดในหมวดนี้เป็นความผิดอันยอมความได้
คำพิพากษาของศาลฎีกาเลขที่ ๔๓๘๐/๒๕๕๗
ป.อ. มาตรา ๓๕๐
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ ๓๕๐,๐๐๐ บาท ตามหนังสือรับสภาพหนี้ โจทก์มีหนังสือแจ้งไปยังจำเลยว่าหากไม่นำ เงินมาชำระหนี้ภายในกำหนด ๒๐ วัน จะดำเนินการตามกฎหมาย ทันที แสดงว่าโจทก์จะใช้สิทธิทางศาลแล้ว เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามหนังสือรับสภาพหนี้และทราบดีว่าโจทก์จะใช้สิทธิทางศาล การที่จำเลยโอนขายที่ดินพร้อมบ้านซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีอยู่เพียงอย่างเดียวให้นาง ฉ. โดยโจทก์ไม่ทราบเรื่อง ข้อเท็จจริงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยโอนขายที่ดิน พร้อมบ้านโดยมีเจตนาเพื่อไม่ให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๓๖๗/๒๕๕๑
ป.อ. มาตรา ๓๕๐
โจทก์ทราบว่า จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ โอนที่ดินให้ ท. โจทก์ย่อมมีสิทธิเลือกที่จะฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการให้ระหว่างจำเลยกับ ท. หรือฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาก็ได้
การที่โจทก์เลือกใช้สิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาจึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยชอบ เมื่อจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้ ท. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมิให้โจทก์ซึ่งได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลได้รับชำระหนี้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา ๓๕๐
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๙๗๓/๒๕๕๑
ป.อ. มาตรา ๓๕๐
การร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนของโจทก์ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ แต่เมื่อร้องทุกข์แล้ว พนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยที่ ๑ และขอให้จำเลยที่ ๑ คืนหรือใช้เงินจำนวน ๑๓๕,๐๐๘,๑๖๓.๙๒ บาท มาด้วย ทั้งโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวและศาลชั้นต้นอนุญาต
ดังนี้ จึงมีความหมายโดยนิตินัยว่า โจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ ๑ ในคดีดังกล่าวและมีคำขอให้บังคับจำเลยที่ ๑ คืนหรือใช้เงินจำนวน ๑๓๕,๐๐๘,๑๖๓.๙๒ บาท ด้วย เท่ากับว่า โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยที่ ๑ ชำระหนี้แล้ว
ขณะจำเลยที่ ๑ จดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ ๒ จำเลยทั้งสองได้หย่ากันแล้ว ทั้งจำเลยทั้งสองได้ตกลงกันว่าให้จำเลยที่ ๒ ไปดำเนินการโอนที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ ๒ แต่เพียงผู้เดียว หลังจากนั้น จำเลยที่ ๒ ยังนำที่ดินไปจำนองด้วย แสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาโอนที่ดินไปเพื่อมิให้โจทก์เจ้าหนี้ของจำเลยที่ ๑ ได้รับชำระหนี้ประกอบกับคำว่า “ผู้อื่น” ตาม ป.อ. มาตรา ๓๕๐ หมายถึง บุคคลอื่นนอกจากตัวลูกหนี้ การที่จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ ๒ ผู้ซึ่งมิได้เป็นลูกหนี้ของโจทก์ จึงเป็นการโอนทรัพย์สินไปให้แก่ผู้อื่นแล้ว ส่วนต่อมาโจทก์สามารถสืบหาติดตามทรัพย์สินนำมาบังคับคดีได้หรือไม่ เพียงใด เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ตามมาตรา ๓๕๐
มาตรา ๓๕๐ ผู้ใดเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดก็ดี แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริงก็ดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๕๑ ความผิดในหมวดนี้เป็นความผิดอันยอมความได้
คำพิพากษาของศาลฎีกาเลขที่ ๔๓๘๐/๒๕๕๗
ป.อ. มาตรา ๓๕๐
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ ๓๕๐,๐๐๐ บาท ตามหนังสือรับสภาพหนี้ โจทก์มีหนังสือแจ้งไปยังจำเลยว่าหากไม่นำ เงินมาชำระหนี้ภายในกำหนด ๒๐ วัน จะดำเนินการตามกฎหมาย ทันที แสดงว่าโจทก์จะใช้สิทธิทางศาลแล้ว เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามหนังสือรับสภาพหนี้และทราบดีว่าโจทก์จะใช้สิทธิทางศาล การที่จำเลยโอนขายที่ดินพร้อมบ้านซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีอยู่เพียงอย่างเดียวให้นาง ฉ. โดยโจทก์ไม่ทราบเรื่อง ข้อเท็จจริงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยโอนขายที่ดิน พร้อมบ้านโดยมีเจตนาเพื่อไม่ให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๓๖๗/๒๕๕๑
ป.อ. มาตรา ๓๕๐
โจทก์ทราบว่า จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ โอนที่ดินให้ ท. โจทก์ย่อมมีสิทธิเลือกที่จะฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการให้ระหว่างจำเลยกับ ท. หรือฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาก็ได้
การที่โจทก์เลือกใช้สิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาจึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยชอบ เมื่อจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้ ท. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมิให้โจทก์ซึ่งได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลได้รับชำระหนี้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา ๓๕๐
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๙๗๓/๒๕๕๑
ป.อ. มาตรา ๓๕๐
การร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนของโจทก์ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ แต่เมื่อร้องทุกข์แล้ว พนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยที่ ๑ และขอให้จำเลยที่ ๑ คืนหรือใช้เงินจำนวน ๑๓๕,๐๐๘,๑๖๓.๙๒ บาท มาด้วย ทั้งโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวและศาลชั้นต้นอนุญาต
ดังนี้ จึงมีความหมายโดยนิตินัยว่า โจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ ๑ ในคดีดังกล่าวและมีคำขอให้บังคับจำเลยที่ ๑ คืนหรือใช้เงินจำนวน ๑๓๕,๐๐๘,๑๖๓.๙๒ บาท ด้วย เท่ากับว่า โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยที่ ๑ ชำระหนี้แล้ว
ขณะจำเลยที่ ๑ จดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ ๒ จำเลยทั้งสองได้หย่ากันแล้ว ทั้งจำเลยทั้งสองได้ตกลงกันว่าให้จำเลยที่ ๒ ไปดำเนินการโอนที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ ๒ แต่เพียงผู้เดียว หลังจากนั้น จำเลยที่ ๒ ยังนำที่ดินไปจำนองด้วย แสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาโอนที่ดินไปเพื่อมิให้โจทก์เจ้าหนี้ของจำเลยที่ ๑ ได้รับชำระหนี้ประกอบกับคำว่า “ผู้อื่น” ตาม ป.อ. มาตรา ๓๕๐ หมายถึง บุคคลอื่นนอกจากตัวลูกหนี้ การที่จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ ๒ ผู้ซึ่งมิได้เป็นลูกหนี้ของโจทก์ จึงเป็นการโอนทรัพย์สินไปให้แก่ผู้อื่นแล้ว ส่วนต่อมาโจทก์สามารถสืบหาติดตามทรัพย์สินนำมาบังคับคดีได้หรือไม่ เพียงใด เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ตามมาตรา ๓๕๐
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)