คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๕๘๓/๒๕๕๖
ป.อ. มาตรา ๓๓๕ (๑) (๗) (๘) วรรคสอง, ๓๖๕ (๒) (๓) , ๓๖๔ , ๘๓
จำเลยที่ ๑ เป็นสามีอยู่กินกับ ก. มาก่อนเกิดเหตุถึง ๗ เดือน เคยนอนพักอาศัยกับ ก. ที่ร้านที่เกิดเหตุ และมีเหตุทะเลาะกันบ่อย ทรัพย์ที่เอาไปล้วนแต่อยู่ในห้องนอนที่จำเลยที่ ๑ นอนกับ ก. ทั้งสิ้น ทั้งที่ชั้นล่างของร้านที่เกิดเหตุก็มีโทรทัศน์สีที่มีขนาดใหญ่กว่าและมีทรัพย์สินอื่นของผู้เสียหายอีกมากมายแต่ จำเลยที่ ๑ ก็มิได้เอาไป แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ ๑ หาได้มีเจตนาลักทรัพย์ของผู้เสียหายไม่
ชั้นสอบสวน จำเลยที่ ๑ ให้การว่า ก่อนเกิดเหตุเมื่อจำเลยที่ ๑ ไป ขอคืนดีกับ ก. แล้ว ก. ไม่ยอมคืนดีด้วย ยังได้ขับไล่ และเอากุญแจร้านให้จำเลยที่ ๑ เพื่อไปขนสิ่งของเครื่องใช้ออกไป จำเลยที่ ๑ จึงชักชวนจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ไปขนทรัพย์สินของตนเองและของผู้เสียหายรวมไปด้วยเพื่อเป็นข้อต่อรองให้ ก. ยอมคืนดีด้วย หลังเกิดเหตุจำเลยที่ ๑ ก็กลับมานอนที่บ้านของ ก. ไม่ได้หลบหนี เมื่อ ก. ไปทวงถามให้นำทรัพย์สินไปคืน จำเลยที่ ๑ ก็ให้บุตรไปคืนโดยดี ตามพฤติการณ์เชื่อได้ว่าจำเลยที่ ๑ ถือวิสาสะเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปเนื่องจากต้องการเป็นข้อต่อรองกับ ก. ให้ยอมคืนดีด้วยเท่านั้น มิได้ประสงค์ต่อผลที่จะเอาทรัพย์สินของผู้เสียหายไปเป็นของตนเองหรือของผู้อื่น จึงมิได้มีเจตนาทุจริตแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
การกระทำของจำเลยที่ ๑ ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ และแม้จำเลยที่ ๑ จะไม่มีกุญแจร้านที่เกิดเหตุ แต่จำเลยที่ ๑ ก็พักอาศัยอยู่ที่ร้านเกิดเหตุกับ ก. มานาน โดยบางครั้งก็นอนที่ร้านกับ ก. และบางครั้งก็นอนที่บ้านบิดามารดาของ ก. ตามพฤติการณ์ถือว่าจำเลยที่ ๑ ได้พักอาศัยอยู่ที่ร้านที่เกิดเหตุด้วยการเข้าไปในร้านของผู้เสียหายเช่นนี้ จึงฟังไม่ได้ว่าเข้าไปรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายโดยไม่มีเหตุอันสมควร การกระทำของจำเลยที่ ๑ ไม่เป็นความผิดตามฟ้อง ดังนั้น การที่จำเลยที่ ๓ ซึ่งเป็นผู้ที่เข้าไปช่วยจำเลยที่ ๑ ขนทรัพย์สินตามคำสั่งของจำเลยที่ ๑ จึงไม่เป็นความผิดตามฟ้องเช่นเดียวกัน
ป.อ. มาตรา ๓๓๕ (๑) (๗) (๘) วรรคสอง, ๓๖๕ (๒) (๓) , ๓๖๔ , ๘๓
จำเลยที่ ๑ เป็นสามีอยู่กินกับ ก. มาก่อนเกิดเหตุถึง ๗ เดือน เคยนอนพักอาศัยกับ ก. ที่ร้านที่เกิดเหตุ และมีเหตุทะเลาะกันบ่อย ทรัพย์ที่เอาไปล้วนแต่อยู่ในห้องนอนที่จำเลยที่ ๑ นอนกับ ก. ทั้งสิ้น ทั้งที่ชั้นล่างของร้านที่เกิดเหตุก็มีโทรทัศน์สีที่มีขนาดใหญ่กว่าและมีทรัพย์สินอื่นของผู้เสียหายอีกมากมายแต่ จำเลยที่ ๑ ก็มิได้เอาไป แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ ๑ หาได้มีเจตนาลักทรัพย์ของผู้เสียหายไม่
ชั้นสอบสวน จำเลยที่ ๑ ให้การว่า ก่อนเกิดเหตุเมื่อจำเลยที่ ๑ ไป ขอคืนดีกับ ก. แล้ว ก. ไม่ยอมคืนดีด้วย ยังได้ขับไล่ และเอากุญแจร้านให้จำเลยที่ ๑ เพื่อไปขนสิ่งของเครื่องใช้ออกไป จำเลยที่ ๑ จึงชักชวนจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ไปขนทรัพย์สินของตนเองและของผู้เสียหายรวมไปด้วยเพื่อเป็นข้อต่อรองให้ ก. ยอมคืนดีด้วย หลังเกิดเหตุจำเลยที่ ๑ ก็กลับมานอนที่บ้านของ ก. ไม่ได้หลบหนี เมื่อ ก. ไปทวงถามให้นำทรัพย์สินไปคืน จำเลยที่ ๑ ก็ให้บุตรไปคืนโดยดี ตามพฤติการณ์เชื่อได้ว่าจำเลยที่ ๑ ถือวิสาสะเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปเนื่องจากต้องการเป็นข้อต่อรองกับ ก. ให้ยอมคืนดีด้วยเท่านั้น มิได้ประสงค์ต่อผลที่จะเอาทรัพย์สินของผู้เสียหายไปเป็นของตนเองหรือของผู้อื่น จึงมิได้มีเจตนาทุจริตแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
การกระทำของจำเลยที่ ๑ ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ และแม้จำเลยที่ ๑ จะไม่มีกุญแจร้านที่เกิดเหตุ แต่จำเลยที่ ๑ ก็พักอาศัยอยู่ที่ร้านเกิดเหตุกับ ก. มานาน โดยบางครั้งก็นอนที่ร้านกับ ก. และบางครั้งก็นอนที่บ้านบิดามารดาของ ก. ตามพฤติการณ์ถือว่าจำเลยที่ ๑ ได้พักอาศัยอยู่ที่ร้านที่เกิดเหตุด้วยการเข้าไปในร้านของผู้เสียหายเช่นนี้ จึงฟังไม่ได้ว่าเข้าไปรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายโดยไม่มีเหตุอันสมควร การกระทำของจำเลยที่ ๑ ไม่เป็นความผิดตามฟ้อง ดังนั้น การที่จำเลยที่ ๓ ซึ่งเป็นผู้ที่เข้าไปช่วยจำเลยที่ ๑ ขนทรัพย์สินตามคำสั่งของจำเลยที่ ๑ จึงไม่เป็นความผิดตามฟ้องเช่นเดียวกัน