คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 440/2554
ป.อ. ฉ้อโกง (มาตรา 341)
พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 (มาตรา 4)
การที่จำเลยแจ้งแก่โจทก์ร่วมว่า จำเลยซื้อเครื่องประดับจากโจทก์ร่วมเพื่อนำไปขายต่อแก่ผู้อื่น โดยอ้างว่ามีผู้ต้องการซื้ออยู่แล้ว แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยนำไปขายให้แก่บุคคลใด กลับนำเครื่องประดับดังกล่าวไปจำนำทั้งหมด เครื่องประดับดังกล่าวรวม 43 รายการ เป็นเงินถึง 7,000,000 บาทเศษ เมื่อนำไปจำนำย่อมได้เงินน้อยกว่าราคาต้นทุนที่จำเลยซื้อมาจากโจทก์ร่วม และจำเลยจะต้องรับผิดชอบส่วนที่ขาดทุนนี้เอง ซึ่งผิดวิสัยผู้ประกอบธุรกิจค้าขายที่ไม่มุ่งหวังกำไรจากการนำสินค้าไปขาย อันเป็นข้อพิรุธให้เห็นตั้งแต่ครั้งแรก
ส่วนโจทก์ร่วมนั้นหากทราบความเป็นจริงว่า จำเลยจะซื้อเชื่อเครื่องประดับของตนเองเพื่อนำไปจำนำทั้งหมด ย่อมเป็นไปได้ยากที่โจทก์ร่วมจะขายให้ เพราะโจทก์ร่วมเบิกความว่า การนำไปจำนำจะได้เงินเพียง 70 เปอร์เซ็นต์จากราคาที่กำหนดไว้ ซึ่งจะทำให้โจทก์ร่วมไม่ได้รับชำระหนี้จากจำเลยครบถ้วนในภายหลังเพราะเป็นการซื้อขายเชื่อกัน และจำเลยยังมีหน้าที่ต้องนำเงินมาชำระหนี้เมื่อขายได้ หรือมิฉะนั้นต้องนำเครื่องประดับมาคืนเมื่อขายไม่ได้
เมื่อปรากฏว่าเช็คพิพาท 35 ฉบับ ที่จำเลยสั่งจ่ายเพื่อชำระค่าเครื่องประดับให้แก่โจทก์ร่วมถูกธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินทุกฉบับ และจำเลยหลบหนีไปไม่ยอมชำระหนี้จนกระทั่งถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม พฤติการณ์ของจำเลยเป็นการหลอกลวงโจทก์ร่วมด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าจะรับมอบเครื่องประดับจากโจทก์ร่วมไปขาย แล้วจะชำระราคาหรือนำมาคืนหากขายไม่ได้ ซึ่งความจริงแล้วจำเลยไม่มีเจตนานำเครื่องประดับดังกล่าวไปขาย และมีเจตนาไม่ชำระราคาแก่โจทก์ร่วม ทำให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อมอบเครื่องประดับให้แก่จำเลยไปรวม 17 ครั้ง คิดเป็นราคา 7,786,915 บาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341
จำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ร่วมเพื่อชำระหนี้ค่าเครื่องประดับที่หลอกลวงไปจากโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 แต่เนื่องจากการที่จำเลยหลอกลวงซื้อเชื่อเครื่องประดับจากโจทก์ร่วมมีการวางแผนตั้งแต่ต้น โดยการหลอกลวงให้โจทก์ร่วมไว้วางใจเพื่อจะได้ฉ้อโกงเครื่องประดับเป็นจำนวนมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากก่อนหน้านั้นมีการชำระค่าเครื่องประดับด้วยเช็คซึ่งสามารถเรียกเก็บเงินได้บางส่วน พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นเพียงอุบายเพื่อให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อส่งมอบเครื่องประดับให้แก่จำเลยโดยจำเลยมีเจตนาหลอกลวงฉ้อโกงเอาเครื่องประดับไปจากโจทก์ร่วมโดยไม่ชำระราคาแต่ต้น แม้จำเลยจะออกเช็คพิพาท 35 ฉบับ ลงวันที่ล่วงหน้าให้แก่โจทก์ร่วมก็เป็นไปตามที่จำเลยวางแผนไว้ การออกเช็คพิพาทจึงเป็นเพียงการกระทำส่วนหนึ่งของการหลอกลวงและมุ่งประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกันกับการฉ้อโกงเครื่องประดับจากโจทก์ร่วมเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว
ป.อ. ฉ้อโกง (มาตรา 341)
พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 (มาตรา 4)
การที่จำเลยแจ้งแก่โจทก์ร่วมว่า จำเลยซื้อเครื่องประดับจากโจทก์ร่วมเพื่อนำไปขายต่อแก่ผู้อื่น โดยอ้างว่ามีผู้ต้องการซื้ออยู่แล้ว แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยนำไปขายให้แก่บุคคลใด กลับนำเครื่องประดับดังกล่าวไปจำนำทั้งหมด เครื่องประดับดังกล่าวรวม 43 รายการ เป็นเงินถึง 7,000,000 บาทเศษ เมื่อนำไปจำนำย่อมได้เงินน้อยกว่าราคาต้นทุนที่จำเลยซื้อมาจากโจทก์ร่วม และจำเลยจะต้องรับผิดชอบส่วนที่ขาดทุนนี้เอง ซึ่งผิดวิสัยผู้ประกอบธุรกิจค้าขายที่ไม่มุ่งหวังกำไรจากการนำสินค้าไปขาย อันเป็นข้อพิรุธให้เห็นตั้งแต่ครั้งแรก
ส่วนโจทก์ร่วมนั้นหากทราบความเป็นจริงว่า จำเลยจะซื้อเชื่อเครื่องประดับของตนเองเพื่อนำไปจำนำทั้งหมด ย่อมเป็นไปได้ยากที่โจทก์ร่วมจะขายให้ เพราะโจทก์ร่วมเบิกความว่า การนำไปจำนำจะได้เงินเพียง 70 เปอร์เซ็นต์จากราคาที่กำหนดไว้ ซึ่งจะทำให้โจทก์ร่วมไม่ได้รับชำระหนี้จากจำเลยครบถ้วนในภายหลังเพราะเป็นการซื้อขายเชื่อกัน และจำเลยยังมีหน้าที่ต้องนำเงินมาชำระหนี้เมื่อขายได้ หรือมิฉะนั้นต้องนำเครื่องประดับมาคืนเมื่อขายไม่ได้
เมื่อปรากฏว่าเช็คพิพาท 35 ฉบับ ที่จำเลยสั่งจ่ายเพื่อชำระค่าเครื่องประดับให้แก่โจทก์ร่วมถูกธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินทุกฉบับ และจำเลยหลบหนีไปไม่ยอมชำระหนี้จนกระทั่งถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม พฤติการณ์ของจำเลยเป็นการหลอกลวงโจทก์ร่วมด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าจะรับมอบเครื่องประดับจากโจทก์ร่วมไปขาย แล้วจะชำระราคาหรือนำมาคืนหากขายไม่ได้ ซึ่งความจริงแล้วจำเลยไม่มีเจตนานำเครื่องประดับดังกล่าวไปขาย และมีเจตนาไม่ชำระราคาแก่โจทก์ร่วม ทำให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อมอบเครื่องประดับให้แก่จำเลยไปรวม 17 ครั้ง คิดเป็นราคา 7,786,915 บาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341
จำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ร่วมเพื่อชำระหนี้ค่าเครื่องประดับที่หลอกลวงไปจากโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 แต่เนื่องจากการที่จำเลยหลอกลวงซื้อเชื่อเครื่องประดับจากโจทก์ร่วมมีการวางแผนตั้งแต่ต้น โดยการหลอกลวงให้โจทก์ร่วมไว้วางใจเพื่อจะได้ฉ้อโกงเครื่องประดับเป็นจำนวนมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากก่อนหน้านั้นมีการชำระค่าเครื่องประดับด้วยเช็คซึ่งสามารถเรียกเก็บเงินได้บางส่วน พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นเพียงอุบายเพื่อให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อส่งมอบเครื่องประดับให้แก่จำเลยโดยจำเลยมีเจตนาหลอกลวงฉ้อโกงเอาเครื่องประดับไปจากโจทก์ร่วมโดยไม่ชำระราคาแต่ต้น แม้จำเลยจะออกเช็คพิพาท 35 ฉบับ ลงวันที่ล่วงหน้าให้แก่โจทก์ร่วมก็เป็นไปตามที่จำเลยวางแผนไว้ การออกเช็คพิพาทจึงเป็นเพียงการกระทำส่วนหนึ่งของการหลอกลวงและมุ่งประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกันกับการฉ้อโกงเครื่องประดับจากโจทก์ร่วมเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว