คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6303/2539
ป.อ. มาตรา 59, 358, 362
จำเลยทั้งสองเข้าไปปักเสาสร้างรั้วในที่พิพาท เมื่อเกิดกรณีพิพาทเรื่องแนวเขตที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสอง ทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองไปแจ้งกำนันและคณะกรรมการหมู่บ้านมาไกล่เกลี่ย ผลการเจรจาตกลงกันได้ตามแผนที่ แต่ไม่มีข้อความอธิบายไว้เลยว่า แนวเขตที่ดินของโจทก์และจำเลยทั้งสองอยู่ตรงไหน โจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงกันอย่างไรไม่มีลายมือชื่อของทั้งสองฝ่ายและบุคคลที่เกี่ยวข้องในแผนที่ดังกล่าวเลย อีกทั้งจำเลยทั้งสองก็นำสืบปฏิเสธว่า ไม่เคยมีข้อตกลงกับโจทก์ โจทก์เป็นคนทำแผนที่ดังกล่าวโดยจำเลยทั้งสองไม่รู้เรื่อง แม้โจทก์จะมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้านและบุคคลดีเด่นประจำหมู่บ้าน ซึ่งแต่ละคนเป็นที่นับถือของคนในหมู่บ้านนั้นมาเบิกความก็ตาม แต่บุคคลดีเด่นประจำหมู่บ้านและกำนัน เป็นญาติกับโจทก์ ถือได้ว่าพยานทั้งสองปากดังกล่าวมีส่วนได้เสียกับโจทก์ ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบมาจึงยังไม่ได้ความชัดว่า ที่พิพาทมีแนวเขตตามแผนที่
ป.อ. มาตรา 59, 358, 362
จำเลยทั้งสองเข้าไปปักเสาสร้างรั้วในที่พิพาท เมื่อเกิดกรณีพิพาทเรื่องแนวเขตที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสอง ทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองไปแจ้งกำนันและคณะกรรมการหมู่บ้านมาไกล่เกลี่ย ผลการเจรจาตกลงกันได้ตามแผนที่ แต่ไม่มีข้อความอธิบายไว้เลยว่า แนวเขตที่ดินของโจทก์และจำเลยทั้งสองอยู่ตรงไหน โจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงกันอย่างไรไม่มีลายมือชื่อของทั้งสองฝ่ายและบุคคลที่เกี่ยวข้องในแผนที่ดังกล่าวเลย อีกทั้งจำเลยทั้งสองก็นำสืบปฏิเสธว่า ไม่เคยมีข้อตกลงกับโจทก์ โจทก์เป็นคนทำแผนที่ดังกล่าวโดยจำเลยทั้งสองไม่รู้เรื่อง แม้โจทก์จะมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้านและบุคคลดีเด่นประจำหมู่บ้าน ซึ่งแต่ละคนเป็นที่นับถือของคนในหมู่บ้านนั้นมาเบิกความก็ตาม แต่บุคคลดีเด่นประจำหมู่บ้านและกำนัน เป็นญาติกับโจทก์ ถือได้ว่าพยานทั้งสองปากดังกล่าวมีส่วนได้เสียกับโจทก์ ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบมาจึงยังไม่ได้ความชัดว่า ที่พิพาทมีแนวเขตตามแผนที่
ส่วนที่จำเลยทั้งสองนำสืบอ้างว่าที่พิพาทเป็นที่ดินส่วนหนึ่งตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) แต่การรังวัดพิสูจน์ที่ดินตาม น.ส.3 เจ้าหน้าที่ที่ดินไม่ได้ออกหมายแจ้งให้โจทก์ทราบ โดยไม่ทราบสาเหตุเช่นนี้ จึงยังไม่ได้ความชัดว่า น.ส.3 ฉบับดังกล่าวจะออกมาโดยชอบหรือไม่ และตามพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยทั้งสองนำสืบมาก็เห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายยังโต้เถียงการครอบครองอยู่ การที่จำเลยทั้งสองเข้าไปปักเสาสร้างรั้วในที่พิพาทจึงเป็นการเข้าใจโดยสุจริตว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยทั้งสอง การกระทำของจำเลยทั้งสอง จึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก
ส่วนต้นไผ่ซึ่งปลูกอยู่ในที่พิพาทเป็นไม้ยืนต้น แม้โจทก์จะเป็นผู้ปลูกก็เป็นส่วนควบของที่พิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 145 วรรคหนึ่ง และตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่พิพาทซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ประธานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144 วรรคสอง เมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองยังโต้เถียงสิทธิครอบครองในที่พิพาทกันอยู่ เท่ากับว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองยังโต้เถียงกรรมสิทธิ์ของต้นไผ่ซึ่งปลูกอยู่ในที่พิพาท การที่จำเลยที่ 2 เข้าไปตัดฟันต้นไผ่ พฤติการณ์จึงมีเหตุอันสมควรให้จำเลยที่ 2 เข้าใจโดยสุจริตว่าต้นไผ่ดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 2 เช่นกัน การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ส่วนต้นไผ่ซึ่งปลูกอยู่ในที่พิพาทเป็นไม้ยืนต้น แม้โจทก์จะเป็นผู้ปลูกก็เป็นส่วนควบของที่พิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 145 วรรคหนึ่ง และตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่พิพาทซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ประธานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144 วรรคสอง เมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองยังโต้เถียงสิทธิครอบครองในที่พิพาทกันอยู่ เท่ากับว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองยังโต้เถียงกรรมสิทธิ์ของต้นไผ่ซึ่งปลูกอยู่ในที่พิพาท การที่จำเลยที่ 2 เข้าไปตัดฟันต้นไผ่ พฤติการณ์จึงมีเหตุอันสมควรให้จำเลยที่ 2 เข้าใจโดยสุจริตว่าต้นไผ่ดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 2 เช่นกัน การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
(ข้อคิดเห็น - กรณีพิพาทเรื่องที่ดิน แม้ว่าทั้งสองฝ่ายเคยตกลงกันมาก่อน แต่ก็ไม่มีลายมือชื่อและแนวเขตที่ดินก็ไม่ได้ระบุแน่ชัดว่าอยู่แนวใด และยังมีการโต้เถียงว่า น.ส.3 ออกมาโดยชอบหรือไม่ จำเลยจึงเข้าไปโดยไม่มีเจตนาบุกรุก ส่วนต้นไผ่ที่ปลูกอยู่ในที่พิพาทเป็นไม้ยืนต้น ย่อมเป็นส่วนควบของที่ดินและเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่พิพาทตามกฎหมาย เท่ากับว่าทั้งสองฝ่ายโต้เถียงในกรรมสิทธิ์ของต้นไผ่ด้วย จำเลยจึงตัดต้นไผ่โดยไม่มีเจตนาทำให้เสียทรัพย์ของผู้อื่น)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5830/2539
ป.อ. มาตรา 358
ผู้เสียหายเบิกความว่า ได้ปลูกต้นยูคาลิปตัสลงในที่ดินมี น.ส.3 ก.ที่ซื้อจากจำเลย ภายในเขตที่ดินที่ทำรั้วลวดหนามแสดงแนวเขตไว้โดยจ้างคนมาปลูกและดูแลรักษาจนต้นยูคาลิปตัสสูงท่วมศีรษะ แต่จำเลยตัดและเผาต้นยูคาลิปตัสที่ปลูกไว้ประมาณ 500 ต้น เจ้าหน้าที่ที่ดินเบิกความว่า จำเลยกับผู้เสียหายทั้งสองเคยมายื่นเรื่องราวขอแบ่งขายที่ดิน แต่ที่ดินติดเงื่อนไขห้ามโอน จึงดำเนินการให้ไม่ได้ แต่เคยไปปักหลักเขตที่มีการแบ่งขายให้ผู้เสียหายทั้งสอง โดยมีผู้ใหญ่บ้านไปรับทราบด้วยตามที่คู่กรณีร้องขอ จำเลยเบิกความรับว่าผู้เสียหายทั้งสองได้ว่าจ้างคนงานหลายคนให้ปลูกต้นยูคาลิปตัสในที่ดินบางส่วนของจำเลยจริง แต่เมื่อจำเลยต้องการเข้าไปทำนาในที่ดิน จำเลยจึงใช้จอบขุดต้นยูคาลิปตัสของผู้เสียหายออก
แม้ผู้เสียหายทั้งสองกับจำเลยยังมีเรื่องโต้เถียงกันเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท แต่ในชั้นนี้ยังไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์จะมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทหรือไม่ ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่า ผู้เสียหายทั้งสองเป็นเจ้าของต้นยูคาลิปตัสที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาท แต่จำเลยก็ไม่มีอำนาจที่จะทำลายทรัพย์ของผู้อื่นได้ หากจะถือว่าการปลูกต้นยูคาลิปตัสลงในที่ดินเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินของจำเลย ในกรณีที่ต่างโต้เถียงสิทธิครอบครองกันเช่นนี้ ต่างก็ต้องฟ้องเอาคืนการครอบครองเหตุว่าที่ดินยังมีอยู่ไม่สูญหายไปไหน ใครจะมีสิทธิในที่ดินจะต้องว่ากล่าวกันในทางศาล จำเลยเข้าตัด ฟัน ขุด และเผาต้นยูคาลิปตัสของผู้เสียหายเป็นการทำลายทรัพย์ของผู้เสียหาย
ป.อ. มาตรา 358
ผู้เสียหายเบิกความว่า ได้ปลูกต้นยูคาลิปตัสลงในที่ดินมี น.ส.3 ก.ที่ซื้อจากจำเลย ภายในเขตที่ดินที่ทำรั้วลวดหนามแสดงแนวเขตไว้โดยจ้างคนมาปลูกและดูแลรักษาจนต้นยูคาลิปตัสสูงท่วมศีรษะ แต่จำเลยตัดและเผาต้นยูคาลิปตัสที่ปลูกไว้ประมาณ 500 ต้น เจ้าหน้าที่ที่ดินเบิกความว่า จำเลยกับผู้เสียหายทั้งสองเคยมายื่นเรื่องราวขอแบ่งขายที่ดิน แต่ที่ดินติดเงื่อนไขห้ามโอน จึงดำเนินการให้ไม่ได้ แต่เคยไปปักหลักเขตที่มีการแบ่งขายให้ผู้เสียหายทั้งสอง โดยมีผู้ใหญ่บ้านไปรับทราบด้วยตามที่คู่กรณีร้องขอ จำเลยเบิกความรับว่าผู้เสียหายทั้งสองได้ว่าจ้างคนงานหลายคนให้ปลูกต้นยูคาลิปตัสในที่ดินบางส่วนของจำเลยจริง แต่เมื่อจำเลยต้องการเข้าไปทำนาในที่ดิน จำเลยจึงใช้จอบขุดต้นยูคาลิปตัสของผู้เสียหายออก
แม้ผู้เสียหายทั้งสองกับจำเลยยังมีเรื่องโต้เถียงกันเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท แต่ในชั้นนี้ยังไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์จะมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทหรือไม่ ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่า ผู้เสียหายทั้งสองเป็นเจ้าของต้นยูคาลิปตัสที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาท แต่จำเลยก็ไม่มีอำนาจที่จะทำลายทรัพย์ของผู้อื่นได้ หากจะถือว่าการปลูกต้นยูคาลิปตัสลงในที่ดินเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินของจำเลย ในกรณีที่ต่างโต้เถียงสิทธิครอบครองกันเช่นนี้ ต่างก็ต้องฟ้องเอาคืนการครอบครองเหตุว่าที่ดินยังมีอยู่ไม่สูญหายไปไหน ใครจะมีสิทธิในที่ดินจะต้องว่ากล่าวกันในทางศาล จำเลยเข้าตัด ฟัน ขุด และเผาต้นยูคาลิปตัสของผู้เสียหายเป็นการทำลายทรัพย์ของผู้เสียหาย
(ข้อคิดเห็น - กรณีทั้งสองฝ่ายเคยมายื่นขอแบ่งขายที่ดินกัน แต่ติดเงื่อนไขห้ามโอน จำเลยรับว่าต้นยูคาลิปตัสเป็นของผู้เสียหายที่เคยว่าจ้างให้คนงานมาปลูกในที่ดินบางส่วนของจำเลย และจำเลยก็ได้ขุดออกไปเมื่อได้เข้าไปทำนาในที่ดินนั้น การที่จำเลยไม่ได้ฟ้องเอาคืนการครอบครองที่ดิน แต่มาตัดและเผาต้นยูคาลิปตัสประมาณ 500 ต้น ซึ่งสูงท่วมศีรษะในเขตที่ดินที่ล้อมลวดหนามเอาไว้ชัดเจนว่าเป็นทรัพย์ของผู้เสียหายที่ปลูกไว้ จำเลยจึงมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ของผู้อื่น)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3548/2539
ป.พ.พ. มาตรา 420
ป.อ. มาตรา 358, 362
ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคแรก
ป.วิ.อ. มาตรา 40, 46
พยานหลักฐานโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และตามพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยที่ 1 นำสืบมา ยังโต้เถียงสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทกันอยู่ การที่จำเลยที่ 1 จ้างรถแทรกเตอร์เข้าไปไถปรับที่ดินก็ด้วยเชื่อโดยสุจริตว่ามีสิทธิที่จะเข้าไปทำได้ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาบุกรุกที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ซึ่งคันนาและต้นหว้าที่อยู่ในที่ดินพิพาทซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมิใช่โจทก์เป็นผู้ปลูกไว้ด้วย เมื่อในคดีอาญาฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำให้ทรัพย์ของโจทก์เสียหาย ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46
แม้คดีส่วนแพ่งคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 40 ก็ตาม แต่เมื่อการพิพากษาคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อกฎหมาย จึงต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 มิได้ทำละเมิดอันจะต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3548/2539
ป.พ.พ. มาตรา 420
ป.อ. มาตรา 358, 362
ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคแรก
ป.วิ.อ. มาตรา 40, 46
พยานหลักฐานโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และตามพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยที่ 1 นำสืบมา ยังโต้เถียงสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทกันอยู่ การที่จำเลยที่ 1 จ้างรถแทรกเตอร์เข้าไปไถปรับที่ดินก็ด้วยเชื่อโดยสุจริตว่ามีสิทธิที่จะเข้าไปทำได้ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาบุกรุกที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ซึ่งคันนาและต้นหว้าที่อยู่ในที่ดินพิพาทซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมิใช่โจทก์เป็นผู้ปลูกไว้ด้วย เมื่อในคดีอาญาฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำให้ทรัพย์ของโจทก์เสียหาย ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46
แม้คดีส่วนแพ่งคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 40 ก็ตาม แต่เมื่อการพิพากษาคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อกฎหมาย จึงต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 มิได้ทำละเมิดอันจะต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
(ข้อคิดเห็น - กรณีทั้งสองฝ่ายโต้เถียงสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทกันอยู่ การที่จำเลยเข้าไปไถปรับที่ดิน จึงไม่มีเจตนาบุกรุก ส่วนโจทก์ก็ไม่ได้เป็นผู้ปลูกต้นไม้ที่เสียหายในที่ดินนั้น จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ และไม่เป็นการละเมิดโจทก์)