คำพิพากษาศาลฏีกาที่ ๘๔๕๕/๒๕๕๕
ป.อ. ลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ (มาตรา ๓๓๕, ๓๓๖ ทวิ)
จำเลยกับพวกใช้รถจักรยานยนต์พ่วงข้างและรถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะเดินทางมายังที่เกิดเหตุ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ใช้รถจักรยานยนต์พ่วงข้างและรถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การลักทรัพย์ หรือใช้ในการพาทรัพย์ไป หรือใช้เป็นยานพาหนะเพื่อหลบหนีการจับกุมแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๒๗๘๗/๒๕๕๓
ป.อ. ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด (มาตรา ๓๒, ๓๓)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการวิ่งราวทรัพย์จำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม อันเป็นการบรรยายฟ้องให้ทราบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓๖ ทวิ แต่บทบัญญัติดังกล่าวหาได้ให้ถือว่า ยานพาหนะนั้นเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดด้วยไม่
ทั้งการที่จำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุมก็มิได้หมายความว่าจำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์ดังกล่าวเป็นเครื่องมือหรือส่วนหนึ่งในการวิ่งราวทรัพย์ รถจักรยานยนต์ของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยทั้งสองได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์โดยตรง ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลจะมีอำนาจสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓ (๑)
หมายเหตุ:- ขึ้นอยู่กับการบรรยายฟ้องและนำสืบให้ได้ความว่าผู้กระทำความผิดขับขี่รถจักรยานยนต์มาประกบข้างตัวผู้เสียหาย แล้วกระชากฉกฉวยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปซึ่งหน้าแล้วหลบหนีไปโดยทุจริต ก็จะฟังได้ว่า รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์โดยตรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๑๔๖/๒๕๕๓
ป.อ. มาตรา ๓๓ (๑)
การที่ศาลจะมีอำนาจสั่งริบทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓ (๑) นั้น มีความมุ่งหมายถึงให้ริบตัวทรัพย์สินที่ผู้กระทำความผิดได้ใช้ในการกระทำความผิดนั้น ๆ โดยตรง กล่าวคือ ทรัพย์สินนั้นจะต้องเกี่ยวข้องเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดด้วย ซึ่งเป็นพิจารณาถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่อง ๆ ไป
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกลักทรัพย์ของผู้เสียหายโดยใช้รถยนต์กระบะของกลางเป็นยานพาหนะขับตระเวนลักทรัพย์และบรรทุกทรัพย์สินของผู้เสียหายไปขายแก่ผู้รับซื้อของเก่า และจำเลยให้การรับสารภาพก็ตาม แต่การที่จำเลยกับพวกใช้รถยนต์กระบะของกลางขับตระเวนลักทรัพย์ เป็นเพียงการใช้รถยนต์กระบะของกลางเป็นยานพาหนะเดินทางไปยังสถานที่ที่จะลักทรัพย์เท่านั้น
ทั้งการกระทำของจำเลยกับพวกเป็นการลักทรัพย์สำเร็จแล้ว จำเลยกับพวกจึงนำทรัพย์ของผู้เสียหายที่ลักมาบรรทุกรถยนต์กระบะของกลางเพื่อนำไปขายแก่ผู้รับซื้อของเก่า ซึ่งตามปกติรถยนต์กระบะของกลางโดยสภาพมีไว้เพื่อบรรทุกคนหรือสิ่งของจากที่หนึ่งไปยังที่อื่นอันเป็นวัตถุประสงค์ทั่วไป ดังนี้ รถยนต์กระบะของกลางจึงไม่ไช่เครื่องมือหรือส่วนหนึ่งในการลักทรัพย์อันเป็นทรัพย์ที่ใช้กระทำความผิดโดยตรง จึงริบรถยนต์กระบะของกลางไม่ได้
ป.อ. ลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ (มาตรา ๓๓๕, ๓๓๖ ทวิ)
จำเลยกับพวกใช้รถจักรยานยนต์พ่วงข้างและรถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะเดินทางมายังที่เกิดเหตุ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ใช้รถจักรยานยนต์พ่วงข้างและรถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การลักทรัพย์ หรือใช้ในการพาทรัพย์ไป หรือใช้เป็นยานพาหนะเพื่อหลบหนีการจับกุมแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๒๗๘๗/๒๕๕๓
ป.อ. ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด (มาตรา ๓๒, ๓๓)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการวิ่งราวทรัพย์จำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม อันเป็นการบรรยายฟ้องให้ทราบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓๖ ทวิ แต่บทบัญญัติดังกล่าวหาได้ให้ถือว่า ยานพาหนะนั้นเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดด้วยไม่
ทั้งการที่จำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุมก็มิได้หมายความว่าจำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์ดังกล่าวเป็นเครื่องมือหรือส่วนหนึ่งในการวิ่งราวทรัพย์ รถจักรยานยนต์ของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยทั้งสองได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์โดยตรง ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลจะมีอำนาจสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓ (๑)
หมายเหตุ:- ขึ้นอยู่กับการบรรยายฟ้องและนำสืบให้ได้ความว่าผู้กระทำความผิดขับขี่รถจักรยานยนต์มาประกบข้างตัวผู้เสียหาย แล้วกระชากฉกฉวยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปซึ่งหน้าแล้วหลบหนีไปโดยทุจริต ก็จะฟังได้ว่า รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์โดยตรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๑๔๖/๒๕๕๓
ป.อ. มาตรา ๓๓ (๑)
การที่ศาลจะมีอำนาจสั่งริบทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓ (๑) นั้น มีความมุ่งหมายถึงให้ริบตัวทรัพย์สินที่ผู้กระทำความผิดได้ใช้ในการกระทำความผิดนั้น ๆ โดยตรง กล่าวคือ ทรัพย์สินนั้นจะต้องเกี่ยวข้องเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดด้วย ซึ่งเป็นพิจารณาถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่อง ๆ ไป
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกลักทรัพย์ของผู้เสียหายโดยใช้รถยนต์กระบะของกลางเป็นยานพาหนะขับตระเวนลักทรัพย์และบรรทุกทรัพย์สินของผู้เสียหายไปขายแก่ผู้รับซื้อของเก่า และจำเลยให้การรับสารภาพก็ตาม แต่การที่จำเลยกับพวกใช้รถยนต์กระบะของกลางขับตระเวนลักทรัพย์ เป็นเพียงการใช้รถยนต์กระบะของกลางเป็นยานพาหนะเดินทางไปยังสถานที่ที่จะลักทรัพย์เท่านั้น
ทั้งการกระทำของจำเลยกับพวกเป็นการลักทรัพย์สำเร็จแล้ว จำเลยกับพวกจึงนำทรัพย์ของผู้เสียหายที่ลักมาบรรทุกรถยนต์กระบะของกลางเพื่อนำไปขายแก่ผู้รับซื้อของเก่า ซึ่งตามปกติรถยนต์กระบะของกลางโดยสภาพมีไว้เพื่อบรรทุกคนหรือสิ่งของจากที่หนึ่งไปยังที่อื่นอันเป็นวัตถุประสงค์ทั่วไป ดังนี้ รถยนต์กระบะของกลางจึงไม่ไช่เครื่องมือหรือส่วนหนึ่งในการลักทรัพย์อันเป็นทรัพย์ที่ใช้กระทำความผิดโดยตรง จึงริบรถยนต์กระบะของกลางไม่ได้